Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5441
Title: พฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด จังหวัดกระบี่
Other Titles: Purchasing behavior of members of Pak Nam Land Settlement Cooperatives Ltd., Krabi Province
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น
สวภัทร คีรีพิทักษ์, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การซื้อสินค้า
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ 2) พฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ 3) ระด้บความสำคัญปัจจ้ยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อ พฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด จังหวัดกระบี่ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกของสหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด ที่ซื้อสินค้ากับสหกรณ์ ปี 2558 โดยศึกษาจากกลุ่ม ตัวอย่าง จำนวน 268 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า (1) สมาชิกสหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 59.0 อายุระหว่าง 41 - 50 ปี ร้อยละ 41.0 ระดับ การศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 39.2 เป็นสมาชิกสหกรณ์ 15 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 38.1 รายได้ของครัวเรือนต่อเดือน มากกว่า 20,000 บาท/เดือน ร้อยละ 56.3 รายจ่ายของครัวเรือนต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท/เดือน ร้อยละ 37.3 (2) พฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิก ได้แก่ การซื้อปุ๋ย ร้อยละ 97.4 เคมีการเกษตร ร้อยละ 92.5 น้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 24.3 และ ข้าวสาร ร้อยละ 87.3 (3) ส่วนประสมการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิกโดยรวมมีระดับความสำคัญในระดับมาก ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด และการจัดจำหน่าย ตามลำดับ ทั้งนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ที่มีระดับ ความสำคัญมาก ได้แก่ สินค้ามีคุณภาพ ความสะอาดของสินค้า บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและโดดเด่น และมีสินค้าหลายยี่ห้อ/ตราสินค้า ด้านราคา ได้แก่ ราคาสอดคล้องกับคุณภาพ บริการเงินเชื่อ และราคาใกล้เคียงกับ ตลาด ด้านการจัดจำหน่าย ได้แก่ สถานที่เดินทางมาสะดวก สะอาด และจัดสินค้าเป็นหมวดหมู่หาง่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ผ่านผู้นำกลุ่มสมาชิก การพูดจาเป็นมิตร ยิ้มแย้ม แจ่มใสของพนักงาน และความสุภาพของพนักงาน (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยเคมีการเกษตร และข้าวสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านราคา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อน้ำมัน เชื้อเพลิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5441
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_151526.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons