Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5445
Title: การจัดการแรงงานต่างด้าวของธุรกิจแปรรูปอาหารทะเลในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
Other Titles: Management of foreign workers in the marine food processing business in Mueang District, Samutsakhon Province
Authors: อัจฉรา โพธิ์ดี
หยาดฝน เตี๊ยะเพ็ชร, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
แรงงานต่างด้าว--ไทย--สมุทรสาคร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์แรงงานต่างด้าวของธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล ในจังหวัดสมุทรสาคร 2) การจัดการแรงงานต่างด้าวของธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และ 3) ปัญหาในการจัดการแรงงานต่างด้าวของธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ข้อมูลปฐมภูมิ รวบรวมโดยวิธีการสัมภาษณ์ตัวแทนธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล จำแนกตามขนาดของธุรกิจ 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ขนาดละ 5 ราย รวมทั้ง สิ้น 15 ราย และใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 2) ข้อมูลทุติยภูมิ รวบรวมจากเอกสารที่เผยแพร่โดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การจัดหมวดหมู่ข้อ มูลและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจ้ยพบว่า 1) แรงงานต่างด้าวร้อยละ 58.83 ของแรงงานต่างด้าวทั้งหมดในจ้งหวัด สมุทรสาคร ทำงานอยู่ในกลุ่มธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2559 จำนวนธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.17 และมีการใช้แรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 8.20 2) แรงงานต่างด้าวในธุรกิจแปรรูปอาหารทะเลกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 ขนาดเป็นแรงงานชาวเมียนมาทั้งหมด โดยธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กมีแรงงานชาวเมียนมาเฉลี่ยร้อยละ 80.67, 79.22 และ 78.08 ของจำนวนพนักงานทั้งหมดในธุรกิจแต่ละขนาดตามลำดับ ธุรกิจกลุ่มตัวอย่างทุกรายมีการดำเนินการจัดการแรงงานต่างด้าวครบทั้ง 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์งานและการวางแผนกำลังแรงงาน (2) การจัดหแรงงาน (3) การจ่ายค่าตอบแทนแรงงาน (4) การประเมินผลการปฏิบัติงานของแรงงาน (5) การฝึ กอบรมและพัฒนาแรงงาน และ (6) การดูแลความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานโดยธุรกิจขนาดใหญ่มีรายละเอียดของการดำเนินงานในแต่ละขั้น ตอนมากกว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีการนำมาตรฐานแรงงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ มาตรฐานแรงงานไทยและแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีมาใช้ในการดำเนินงานด้วย 3) ปัญหาในการจัดการแรงงานต่างด้าว ได้แก่ ปัญหาด้านการสื่อสาร แรงงานขาดความสามารถและการแสดงความคิดริเริ่มในการทำงาน ขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การ ความไม่มีระเบียบ การลาออกจากงานโดยไม่แจ้ง ล่วงหน้า ปัญหาเกี่ยวกับ วัฒนธรรมประเพณีและขาดความจงรักภักดีต่อองค์การ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5445
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_151532.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons