Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5471
Title: การจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันรูปแบบแปลงใหญ่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
Other Titles: การจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันรูปแบบแปลงใหญ่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
Authors: ปริชาต ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจพร สุดนาค, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --การศึกษาเฉพาะกรณี
ปาล์มน้ำมัน--การผลิต
ปาล์มน้ำมัน--การปลูก--ไทย--กระบี่
การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ 2) การจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันแปลงใหญ่ 3) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันแปลงใหญ่ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตปาล์ม น้ำมันแปลงใหญ่ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) เกษตรกรผู้ปลูกน้ำมัน ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเกษตรกรปาล์ม น้ำมันแปลงใหญ่ ในอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ จำนวน 218 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรของยามาเน่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 142 ราย สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม 2) ประธานกลุ่มพี่เลี้ยงกลุ่มและเกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 3 ราย โดยมีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการจัดหมวดหมู่และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41 - 60 ปี มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน ปลูกปาล์มน้ำมัน เป็นอาชีพหลักปลูกยางพาราเป็นอาชีพรอง มีพื้นที่ทำกินเฉลี่ย 25.82 ไร่ ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 20.48 ไร่ ประสบการณ์ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 15.20 ปี ใช้ทุนของตนเอง และมีรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเข้าร่วมโครงการปาล์มน้ำมันแปลงใหญ่ 2) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปาล์มน้ำมันแปลงใหญ่ มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นท่ีราบ ใช้น้ำฝนเป็นหลักใช้แหล่งพันธุ์จากศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน ใช้ปุ๋เคมีให้ปู๋ยตามช่วงอายุปาล์มน้ำมันใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันตัดแต่งทางใบปีละครั้ง ใช้แรงงานรายวัน เก็บเกี่ยวทุก ๆ 20 วัน และรวมกลุ่มจำหน่ายให้กับโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันแปลงใหญ่ในระดับดีมาก 4) เกษตรกรมีปัญหาในด้านการผลิต การเก็บเกี่ยว ขนส่ง และจดบันทึก ข้อเสนอแนะ คือรัฐบาลควรให้ความรู้กับเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันมากขึ้น และกลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน ควรมีการวางแผนการบริหารจัดการกลุ่มและการเชื่อมโยงการตลาด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5471
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_156353.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons