กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5476
ชื่อเรื่อง: การจัดการปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลบ้านค้อ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fertilizer management in paddy field by farmers in Ban Kho Sub-District, Mueang Khon Kaen District, Khon Kean Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา จิตตลดากร
แรมณภา เตาะอ้น, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าว--ปุ๋ย
การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2)สภาพการทำนาของเกษตรกร 3) การจัดการปุ๋ยในนาข้าว และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการปุุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรในตำบลบ้านคัอ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี กับสำนักังานเกษตรอำเภอเมืองขอนแก่น ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 2,356 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 10 ได้ 96 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่เป็น เพศชาย อายุเฉล่ีย 52.1 ปี จบการศึกษาระดับชั้น ประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.4 คน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.8 คน เกษตรกรร้อยละ 79.2 มีรายได้หลักจาการเกษตร นอกจากทำนาแล้ว เกษตรกรยังประกอบอาชีพทำ ไร่อ้อยมากที่สุด เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. 2) สภาพการทำนาของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีพื้นที่ทำนา ทั้งหมด 6 - 10 ไร่ ลักษณะการทำนาเป็นนาดำ เริ่มปลูกข้าวเดือนมิถุนายน เกษตรกรทุกรายปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 5.7กิโลกรัมต่อไร่ พื้นทื่เพาะปลูกเฉลี่ย 7.5 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 44.8 ปลูกข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่เฉล่ีย 3.4 ไร่ และใช้อัตราเมล็ดพันัธุ์เฉลี่ย 5.7 กิโลกรัมต่อไร่ สภาพดินในแปลงนาส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ผลผลิตเฉลี่ยที่ได้รับ 352.9 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะเก็บข้อมูลยังไม่มีเกษตรกรรายใดขายข้าวเปลือก 3) การจัดการปุุ๋ยในนาข้าว พบว่า เกษตรกรร้อยละ 93.7 ใช้ปุ๋ยเคมี และเกษตรกรร้อยละ 20.8 ใช้ปุุ๋ยอินทรีย์ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋เคมี 2 ครั้ง ในช่วงแตกกอและออกรวง ใช้ปุุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 6-10 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการใช้๋ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ก่่อนการเตรียมดิน 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการปุุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีปัญหาขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุุ๋ยทั้งด้านชนิดอัตรา และเวลาที่ใช้และมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐสนับสนุนการจัดทำแปลงสาธิตการใช้ปุ๋ยในนาข้าว การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชปุุ๋ยสด และการประชาสัมพันธ์แหล่งจำหน่ายปุุ๋ยชนิดต่างๆ ที่มีคุณภาพและราคาต่ำ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5476
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_156356.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons