กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/548
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The farmers' participation in agricultural learning activities in line with sufficient economy in Ang Thong and Phranakhon Si Ayutthaya province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมประสงค์ วิทยเกียรติ, อาจารย์ที่ปรึกษา ปาน กิมปี, อาจารย์ที่ปรึกษา นันทา บูรณธนัง, อาจารย์ที่ปรึกษา มัลลิกา เขียวหวาน, 2501- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ --วิทยานิพนธ์ เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย การมีส่วนร่วมของเกษตรกร--ไทย--พระนครศรีอยุธยา การมีส่วนร่วมของเกษตรกร--ไทย--อ่างทอง |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกิจกรรมการเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกิจกรรมการเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (3) เสนอแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกิจกรรมการเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่เกษตรกรที่ทําการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นําเกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 6 กลุ่ม จาก 6 ตําบล ๆ ละ 1 กลุ่มในเขต 5 อําเภอของจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งสิ้น 51 คน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในตําบล อําเภอ และจังหวัดที่ดําเนินการวิจัย จํานวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม และแบบสังเกต ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) กิจกรรมการเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรมีส่วนรวมมี 6 กิจกรรมได้แก่ การฝึกอบรม การดูงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การประชุมสัมมนา การทํา แปลงสาธิต และการเผยแพร่ความรู้ โดยระดับการมีส่วนร่วมส่วนใหญอยู่ที่ระดับการมีส่วนร่วมรับรู้ รองลงไป ได้แก่ ร่วมรับประโยชน์และร่วมทํา ส่วนการมีส่วนร่วมคิดและรวมประเมินผลนั้นมีน้อยถึงไม่มีเลย (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการมีส่วนร่วม พบว่า ปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เวลาว่าง ตําแหน่งทางสังคม ศักยภาพส่วนบุคคล ความต้องการบริการจากรัฐ เจตคติ กิจกรรมการเกษตรและทรัพยากรที่มีอยู่ การเปิดรับข่าวสาร ส่วนรายได้และการศึกษาไม่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม ซึ่งไม่สอดคล้องกับทฤษฎี แต่สอดคล้องกับผลการวิจัย ที่เกี่ยวข้อง ส่วนปัจจัยภายนอกที่สนับสนุนการมีส่วนร่วม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงาน ผู้นําชุมชน และเครือข่ายกลุ่มอาชีพ (3)แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วม ต้องส่งเสริมปัจจัยที่เกี่ยวข้องและพัฒนาวิธีการจัด การเรียนรู้ให้เกษตรกรมีส่วนร่วมปฏิบัติจริง สอดคล้องกับความต้องการและเงื่อนไขทางสภาพแวดล้อมของเกษตรกร เน้นเนื้อหาการพึ่งตนเองและการจัดการทรัพยากรการเกษตร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/548 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License