กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/552
ชื่อเรื่อง: สมรรถนะตามบันไดอาชีพของพยาบาลประจำการในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ ศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลของรัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The career ladder based competencies of staff nurses in trauma wards of trauma units in government hospitals
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรทิพย์ เกยุรานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกพร พันธ์เพิ่มพูน, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สมรรถนะ
พยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การแบ่งระดับสมรรถนะของพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ ศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลของรัฐ 2) สมรรถนะที่ต้องมีและจำนวนปีประสบการณ์ที่เหมาะสมตามบันไดอาชีพของพยาบาลประจำการในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ ศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลของรัฐ ตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ พยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ ศูนย์อุบัติเหตุระดับ 1 ในโรงพยาบาลของรัฐ ที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 108 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.97 และวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมัธยฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) พยาบาลประจำการในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุร้อยละ 48.1 มีความเห็นว่าสมรรถนะของพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ ศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลของรัฐ ควรแบ่งเป็น 5 ระดับ โดยระดับ 1 ควรมีประสบการณ์ 0-2 ปี ระดับ 2 ควรมีประสบการณ์ 3-4 ปี ระดับ 3 ควรมี ประสบการณ์ 5-6 ปี ระดับ 4 ควรมีประสบการณ์ 7-10 ปี และระดับ 5 ควรมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป 2) พยาบาลประจำการในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ มีความเห็นว่า พยาบาลประจำการในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ ศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลของรัฐ ต้องมีสมรรถนะตามบันไดอาชีพโดยรวมทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการประเมินอาการ ด้านการวางแผนการพยาบาล ด้านกิจกรรมการพยาบาล ด้านวิชาการ ด้านกฎหมายและจริยธรรม ด้านภาวะผู้นำและการบริหาร ด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงาน และด้านการช่วยฟื้นคืนชีพ โดยพยาบาลประจำการในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ ศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลของรัฐ ที่มีประสบการณ์ 1 ปี ต้องมีสมรรถนะในด้านการประเมินอาการ และด้านกิจกรรมการพยาบาลประสบการณ์ 2 ปี ต้องมีสมรรถนะด้านการประเมินอาการ ด้านการวางแผนการพยาบาล ด้านกิจกรรมการพยาบาล ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพ และด้านกฎหมายและจริยธรรมประสบการณ์ 3 ปี ต้องมีสมรรถนะด้านการประเมินอาการ ด้านการวางแผนการพยาบาล ด้านกิจกรรมการพยาบาล ด้านวิชาการ และด้านการช่วยฟื้นคืนชีพ ด้านกฎหมายและจริยธรรม และด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ประสบการณ์ 4 ปี ต้องมีสมรรถนะด้านการช่วยฟื้นคืนชีพ ด้านกฎหมายและจริยธรรม และด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ประสบการณ์ 5 ปี ต้องมีสมรรถนะด้านการประเมินอาการ ด้านวิชาการ ด้านภาวะผู้นำและการบริหาร และด้านการช่วยฟื้นคืนชีพ และประสบการณ์ 6 ปี ต้องมีสมรรถนะด้านวิชาการ และด้านภาวะผู้นำและการบริหาร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/552
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
114775.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons