Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5536
Title: | ภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตทุ่งใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Teachers’ instructional leadership for the 21st century learning in Thung Yai consortium Secondary Schools under the Secondary Education Service Area Office 12 in Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | รัตนา ดวงแก้ว ขนิษฐา สุขทิพย์, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ครู--ไทย--นครศรีธรรมราช ภาวะผู้นำ การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตทุ่งใหญ่ สังกัดสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของครู เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยจำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการสอน และระดับการศึกษา และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตทุ่งใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 12 ในปี 2559 จำนวนทั้งสิ้น 108 คนโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนี้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภาวะผู้นำ ทางวิชาการของครูเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตทุ่งใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ครูที่มีตำแหน่งประสบการณ์ในการสอน และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการ เรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ -01 และ (3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ หลักสูตรสถานศึกษาที่ออกแบบโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษาควรนำไปใช้ เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองควานต้องการของนักเรียนและสังคม ครูควรได้รับการอบรมอย่างสมํ่าเสมอให้สามารถใช้สื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและควรได้รับการสนับสนุนเกี่ยวกับงบประมาณ และผู้บริหารสถานศึกษาควรนิเทศ ติดตาม และช่วยแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครู โดยอาศัยการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อให้มีกลวิธีการสอนทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม พร้อมทั้งให้ครูมีโอกาส แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครูแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5536 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
156375.pdf | 7.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License