Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/553
Title: ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการไปรษณีย์ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พ.ศ. 2546
Other Titles: Authority of the Postal Commission under the Royal decree determining the Authorities, rights and benefits of Thailand Post Co., Ltd. B.E.2546
Authors: กมลชัย รัตนสกาววงศ์
พรรณทอง วนแสงสกุล, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สิริพันธ์ พลรบ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
บริษัทไปรษณีย์ไทย
ไปรษณีย์--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องขอบเขตอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการไปรษณีย์ ตามพระราชกฤษฎีกา กําหนดอํานาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด พ.ศ. 2546 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาที่มา และพัฒนาการของกิจการไปรษณีย์ และการแปรรูปเป็นบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด (ปณท) (2) ศึกษาขอบเขตการ ใช้อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการไปรษณีย์ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินกิจการไปรษณีย์ไทย (3) ศึกษา แนวความคิดและหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับคําสั่งทางปกครองของคณะกรรมการกิจการไปรษณีย์ (4) เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับคําสั่งทางปกครองของคณะกรรมการกิจการ ไปรษณีย์ และการดําเนินธุรกิจของ ปณท การวิจัยเรื่องนี่เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์และ ข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่า แม้ว่ากิจการไปรษณีย์ของไทยจะได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการกํากับดูแล และการให้บริการมาโดยตลอด แต่ยังคงมีวัตถุประสงค์เช่นเดิม คือ เพื่อสร้างความมั่นคงของประเทศ และเพื่อให้บริการสาธารณะต่อประชาชน ปัจจุบันมีการกําหนดอํานาจหน้าที่ ที่มีอยู่เดิมของบริษัทฯ มาเป็นอํานาจของ คณะกรรมการกิจการไปรษณีย์ โดยอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) อํานาจในการทําคําสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 ได้แก่ การอนุญาต และการวินิจฉัย (2) อํานาจในการบังคับใช้ กฎระเบียบ ข้อบังคับและข้อกําหนดในกิจการไปรษณีย์ ได้แก่ ข้อบังคับต่าง ๆ ของคณะกรรมการ กสท. การ จัดทําไปรษณีย์นิเทศ และการออกคําสั่งใด ๆ ของผู้ว่าการ กสท. ที่มีลักษณะเป็นคําสั่งทางปกครองตาม พระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และ (3) การทําความตกลงกับต่างประเทศ ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการ ออกคําสั่งทางปกครองควรต้องมีการกําหนดแนวทางการใช้อํานาจให้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบทบัญญัติของ กฎหมายจะได้กําหนดให้มีการใช้อํานาจตามพระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 เป็นของคณะกรรมการ กิจการไปรษณีย์ก็ตาม แต่การใช้อํานาจดังกล่าวก็เป็นเพียงเพื่อให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ไปรษณีย์ของไทยแต่เพียงผู้เดียว จัดให้มีบริการไปรษณีย์แก่ประชาชนผู้ใช้บริการได้อย่างเท่าเทียมกับนานา ประเทศ และเป็นไปตามข้อกําหนดของสหภาพสากลไปรษณีย์ รวมทั้งข้อตกลงกับประเทศสมาชิกในแต่ละประเทศด้วย
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/553
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib142721.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons