กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5541
ชื่อเรื่อง: ต้นทุนการผลิตพลังงานทดแทนในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Production cost of renewable energy of oil palm industry in Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์
กมลทิพย์ อักษรทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุภมาส อังศุโชติ
สุชาดา สถาวรวงศ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน--ต้นทุนการผลิต--ไทย--กระบี่
พลังงานทดแทน--ต้นทุนการผลิต
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการผลิตพลังงานทดแทนในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ (2) ศึกษาต้นทุนการผลิตพลังงานทดแทนในอุตสาหกรรมปาล์มนั้ามันในจังหวัดกระบี่ (3) เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตพลังงานทดแทนของอุตสาหกรรมปาล์ม้ำมันในจังหวัดกระบี่ที่มีกำลังการผลิตต่างกัน (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนในอุตสาหกรรมปาล์มนั้ามันในจังหวัดกระบี่กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือโรงงานอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ที่มีการผลิตพลังงานทดแทน จำนวน 6 โรงงาน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์โดยใข้ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ด้านบัญชีด้นทุน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการผลิตพลังงานทดแทนใช้ระบบหม้อไอนั้า และ กังหันไอนั้า โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวล 5 โรงงาน และเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (1) โรงงาน เชื้อเพลิงจะทำใหัหมัอไอน้ำร้อนและเกิดไอนํ้าขึ้น ต่อจากนั้นไอน้ำจะไปหมุนกังหันไอน้ำทำให้เกิดกระแสใฟฟ้า (2) ต้นทุนการผลิต แบ่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 คิดเศษวัสดุเหลือใช้เป็นต้นทุนการผลิต ในการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลมีต้นทุนการผลิดเฉลี่ยต่อหน่วย 3.71 บาท และ 2.60 บาทตามลำดับสำหรับการใช้เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ กรณีที่ 2 ไม่คิดเศษวัสดุเหลึอใช้เป็นต้นทุนการผลิต ในการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลจะมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วย 2.01 บาท และ 1.85 บาท ตามลำดับสำหรับการใช้เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (3) การเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตแบ่งออก เป็น 2 กลุ่ม คือ โรงงานขนาดเล็ก มีกำลังการผลิดไม่เกิน 45 ตันทะลายต่อชั่วโมง และโรงงานขนาดใหญ่มีกำลังการผลิดตั้งแต่ 45 ตันทะลายต่อชั่วโมงขึ้นไป ในกรณีที่ 1 มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วย 4.55 และ 3.47 บาทตามลำดับ และในกรณีที่ 2 มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วย 2.16 และ 1.96 บาท ตามลำดับ (4) ปัญหาและอุปสรรคขาดแคลนเทคโนโลยึที่ทันสมัย และประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าตํ่า การลงทุนสูง และขาดการวิจัยในการนำเศษวัสดุเหลิอใช้ทางการเกษตรอื่นมาใช้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5541
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108597.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons