กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5548
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะดิจิทัลของบุคลากรสาธารณสุขในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to digital skills among public health personnel in Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีระวุธ ธรรมกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชานนท์ อ่าวสินธุ์ศิริ, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
บุคลากรสาธารณสุข--ไทย--กระบี่
การรู้จักใช้เทคโนโลยี
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ด้านดิจิทัลและทัศนคติด้านดิจิทัล (2) ทักษะดิจิทัล และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ด้านดิจิทัล ทัศนคติด้านดิจิทัลและทักษะดิจิทัลของบุคลากรสาธารณสุขในสังกัดสานักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสาธารณสุขในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลกระบี่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และนักวิชาการสาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 318 คน จากประชากรทั้งหมด 1,522 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม มีความเที่ยงในส่วนของความรู้ด้านดิจิทัลและทัศนคติด้านดิจิทัลเท่ากับ 0.78 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 39 ปีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบระดับการศึกษาปริญญาตรี ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในหน่วยงานสาธารณสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 15 ปี และหน่วยงานที่ปฏิบัติงานปัจจุบันส่วนใหญ่สังกัดโรงพยาบาล ความรู้ด้านดิจิทัลและทัศนคติด้านดิจิทัล อยู่ในระดับสูง (2) ด้านทักษะดิจิทัลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และ (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะดิจิทัลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ ได้แก่ ตำแหน่ง และทัศนคติด้านดิจิทัล โดยทั้ง 2 ปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายการแปรผัน ได้ร้อยละ 59.4
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5548
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons