กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5598
ชื่อเรื่อง: การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนงานอาชีพของครูผู้สอนในระดับช่วงชั้นที่ 3-4 เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: he utilization of local wisdom by teachers in career instruction for Third-Fourth Level Students in Surin Educational service area 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จำรัส เสียงเพราะ, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนีมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอน งานอาชีพ ของครูผู้สอนในระดับช่วงชั้นที่ 3-4 เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนการงานอาชีพ ในระดับช่วงชั้นที่ 3-4 เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 315 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการส่งและเก็บแบบสอบถามด้วยตนเอง และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ครูนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านโภชนาการ และอาหารพื้นเมือง โดยนำเนื้อหาด้านผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นมาใช้มาก (2) รูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ครูใช้ระดับมาก คือ การพานักเรียนไปศึกษาหาความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น โดยให้นักเรียนบันทึกการเผชิญกิจกรรมภูมิปัญญา ท้องถิ่นในการเรียนการสอนงานอาชีพ (3) ครูผู้สอนใช้วิธีการสำรวจ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอน เพื่อวางแผนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับปานกลาง ในชั้นการเตรียมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของครูมีการผลิตสื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนงานอาชีพในระดับปานกลางโดยสื่อที่ใช้ควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก คือ สื่อของจริง ครูผู้สอนใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นในชั้นประกอบกิจกรรมการเรียนในระดับปานกลาง ส่วนการประเมินการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับปานกลาง ครูควรประเมินการเข้าร่วมกิจกรรม การทดสอบ และการตอบแบบสอบถาม (4) บทบาทของครูผู้สอนและนักเรียนในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก คือ ครู และนักเรียนมีบทบาทการติดต่อประสานงานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น (5) ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการเรียนการสอนในระดับมาก คือ ครูสามารถใช้เป็นแหล่งการเรียนของนักเรียน ส่วนนักเรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ มีคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ และ (6) ปัญหาและอุปสรรคในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับมากที่สุด คือ โรงเรียนขาดงบประมาณในการสนับสมุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนงานอาชีพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5598
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
117736.pdf3.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons