Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5606
Title: | แนวทางการจัดการการผลิตแตงโมตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง |
Other Titles: | Guidelines of watermelon production management in compliance with Good Agricultura Practices of farmers in Hat Samran district, Trang Province |
Authors: | ปริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา จันจิรา ขันเงิน, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ แตงโม แตงโม --ไทย--มาตรฐานการผลิต. |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการการผลิตแตงโมของเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม 2) ความพร้อมของเกษตรกรในการผลิตแตงโมตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม 4) แนวทางการจัดการการผลิตแตงโมตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพพื้นที่ของเกษตรกรเป็นพื้นที่ดอน ดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่นิยมปลูกแตงโมพันธุ์เมญ่า ให้นํ้าแบบนํ้าหยด โดยให้นํ้าวันละครั้ง เกษตรกรให้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 68.20 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะเวลาที่ให้เฉลี่ย 4.79 ครั้งต่อรอบการผลิต โดยการหว่าน เกษตรกรมีการจัดเถาแตงโมให้เลื้อยไปทางเดียวกันและตัดแต่งกิ่งแขนงให้เหลือ 4 กิ่งต่อต้น โดยเลือกกิ่งแขนงที่แข็งแรงและสมบูรณ์ และเกษตรกรมีการช่วยผสมเกสรแตงโม เวลา 6.00-8.00 น. 2) เกษตรกรมีความพร้อมในการผลิตแตงโมตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยเกษตรกรมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานและมีความรู้การผลิตแตงโมตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมาก 3) ปัญหาของเกษตรกรในการผลิตแตงโม ได้แก่ ปัจจัยการผลิต พื้นที่ปลูก แหล่งนํ้า และราคา เกษตรกรต้องการให้หน่วยงานภาครัฐถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การตลาดและการเชื่อมโยงตลาด และการจัดหาแหล่งนํ้าเพื่อการเกษตร 4) แนวทางการจัดการการผลิตแตงโม ได้แก่ เกษตรกรต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีโดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้แนะนำ จะทำให้เกษตรกรสามารถผลิตแตงโมที่มีคุณภาพและปลอดภัยได้ และหน่วยงานภาครัฐควรมีการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แตงโมของอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5606 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License