กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5616
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในตำบลนาราชควาย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines of organic rice production for farmers in Na Rat Khwai sub-district, Mueang Nakhon Phanom district, Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉริเกศ ขันโมลี, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 3) สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร และ 4) ปัญหา ความต้องการ และแนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในตาบลนาราชควาย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 63.8 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.36 ปี ร้อยละ 54.3 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 61.6 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 31.7 เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 79.0 มีอาชีพทำนา มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 27.91 ปี มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.89 คน มีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 20,331.02 บาทต่อปี มีรายได้จากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 30,010.12 บาทต่อปี มีรายได้การผลิตข้าวเฉลี่ย 14,126.12 บาทต่อปี มีพื้นที่ปลูกข้าว เฉลี่ย 18.05 ไร่ มีพื้นที่ทาการเกษตรของตนเองและเช่า เฉลี่ย 15.34 ไร่ ร้อยละ 38.2 กู้ยืมจากกลุ่มออมทรัพย์ 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเกษตรกรตอบผิดมากที่สุด คือ ควรนำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรงออกจากแปลงนา 3) เกษตรกรมีการปฏิบัติในการผลิตข้าวอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด คือปลูกพืชหมุนเวียนเช่น พืชตระกูลถั่วเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน 4) เกษตรกรมีปัญหาด้านประเด็นวิธีการส่งเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด เกษตรกรมีความต้องการในการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ด้านประเด็นการส่งเสริมมากที่สุด และแนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ด้านการสนับสนุนในระดับมากที่สุด คือ ชนิดของเมล็ดพันธุ์ข้าวต้านทานโรคและแมลง ด้านประเด็นการส่งเสริม ในระดับมากที่สุด คือ อบรมความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต และด้านวิธีส่งเสริมในระดับมากที่สุด คือ การฝึกอบรมในการผลิตข้าวอินทรีย์ในเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5616
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons