Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/562
Title: | ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 |
Other Titles: | Problems on the selection of senators under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2560 |
Authors: | เสาวนีย์ อัศวโรจน์ ภูวดล คงแสง, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สิริพันธ์ พลรบ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ สมาชิกวุฒิสภา--ไทย วุฒิสภา--ไทย--การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ--ไทย |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และพัฒนาการเกี่ยวกับวุฒิสภา 2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา เปรียบเทียบกับต่างประเทศ 3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการได้มาซึ่ง สมาชิกวุฒิสภาและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่ทําให้เกิดปัญหา 4) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาไทยที่ควรจะเป็น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยทางเอกสาร โดยค้นคว้าและรวบรวมหนังสือ ตํารา เอกสาร รัฐธรรมนูญ บทความทางวิชาการที่เกี่ยวกับวุฒิสภาทั้งในส่วนวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาและอํานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในประเทศไทย และต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบรัฐสภาแบบสองสภานั้น มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานแต่ละประเทศ ต่างก็อาศัยมูลเหตุของการกำหนดให้มีวุฒิสภาที่แตกต่างกันออกไป ตามความจําเป็นและเหมาะสมของประเทศตน เริ่มตั้งแต่การให้มีสภาขุนนางของประเทศอังกฤษ เนื่องมาจากวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในอดีต และในประเทศรัฐรวมอย่าง สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี ต่างก็มีความจําเป็นในการมีสองสภาเนื่องจากลักษณะการก่อกำเนิดรัฐ และประเทศซึ่งเป็นรัฐเดี่ยว ต่างก็ได้นําระบบสองสภาไปใช้โดยอาศัยวัตถุประสงค์ทางกลไกที่แตกต่างกันไป เช่น วุฒิสภาในฐานะตัวแทน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศฝรั่งเศส วุฒิสภาในฐานะเป็นตัวแทนของประชาชน ในประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศไทย 2) ในประเทศที่ใช้รูปแบบรัฐสภาแบบสองสภาแต่ละประเทศล้วนแต่มีแนวโน้ม ที่ต้องการพัฒนารูปแบบ และวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ต่างไปจากประเทศไทย ที่แม้จะเคยกำหนดรูปแบบ วิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยการเลือกตั้งโดยตรงมาแล้วแต่กลับมีการเปลี่ยนแปลง ให้กลับมาใช้รูปแบบการเลือกกันเองแบบไขว้ระหว่างผู้แทนกลุ่มสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา อีกทั้งในระยะเวลา 5 ปี แรกของการใช้รัฐธรรมนูญ ยังกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งอีกด้วย 3) วิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังคงมีปัญหาในทางหลักการหลายประการ ทั้งปัญหาความไม่สอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของสมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากการแต่งตั้งและปัญหาความไม่สอดคล้องกับหลักการเป็นผู้แทนปวงชน ของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกกันเองแบบไขว้ ระหว่างผู้แทนกลุ่มสาขาอาชีพที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะการที่จะสะท้อนถึงการเป็นผู้แทนปวงชนได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อระบบการเลือกตั้งมีคะแนนสากล กล่าวคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางที่สุด ไม่ใช่จํากัดสิทธิเฉพาะผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วยกันเอง 4) จึงเสนอรูปแบบวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ให้มีความเชื่อมโยงกับประชาชน มีความหลากหลายของบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพ มีความเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง โดยการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาแห่งราชอาณาจักรไทยมาจาก “การเลือกตั้งโดยตรง” ของประชาชน โดยกำหนดเขตพื้นที่ ทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง และ กำหนดคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งให้มาจากกลุ่มผู้แทนสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/562 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib161726.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License