กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5635
ชื่อเรื่อง: การใช้สื่อสังคมในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชาวต่างประเทศ โรงเรียนภาษานานาชาติสินภิบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The use of social media for Thai language learning by foreign students at Sinphiban International Language School under the Office of the Private Education Commission in Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชลกานต์ พวงแก้ว, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สื่อสังคมออนไลน์
ภาษาไทย--กิจกรรมการเรียนการสอน
ภาษาไทย--การเขียน--การศึกษาและการสอน
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อสังคมในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชาวต่างประเทศโรงเรียนภาษานานาชาติสินภิบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชาวต่างประเทศที่เรียนในหลักสูตรภาษาไทยสำหรับ ชาวต่างประเทศของโรงเรียนภาษานานาชาติสินภิบาล จำนวน 160 คน ได้มาโดยสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามการใช้สื่อสังคมในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชาวต่างประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่าการใช้ สื่อสังคมในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชาวต่างประเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยหัวข้อย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้านมีดังนี้ (1) เหตุผลที่นักเรียนใช้สื่อสังคมเพราะมีประโยชน์ต่อนักเรียน (2) วัตถุประสงค์ของการใช้สื่อสังคมของนักเรียน เพื่อฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนในการเรียนภาษาไทย (3) ประเภทความถี่ และคุณภาพของการใช้สื่อสังคมในการเรียนภาษาไทยของนักเรียน คือ การใช้ ยูทูป (4) ขอบข่ายเนื้อหาภาษาไทยที่นักเรียนใช้สื่อสังคม คือ ฝึกการฟังเสียงพยัญชนะและสระจากเจ้าของภาษา ฝึกการพูดเพื่อชี้แจ้งสิ่งที่ฟัง ฝึกการอ่านออกเสียงพยัญชนะในภาษาไทย และฝึกการเขียนพยัญชนะ (5) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมของนักเรียน คือ ก่อนการเรียนภาษาไทยนักเรียนเลือกประเภทของสื่อสังคม ระหว่างการใช้สื่อสังคมนักเรียนค้นหาคำหรือวลี และหลังการใช้สื่อสังคมนักเรียนมักจะสนทนากับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (6) ปัจจัยที่ส่งเสริมการใช้สื่อสังคมของนักเรียน คือ นักเรียนควรมีความชำนาญในการใช้สื่อสังคม สื่อสังคมควรมีช่องทางที่หลากหลายสามารถสืบค้นด้วยตนเอง และครูผู้สอนควรมีทักษะและแนะนำการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ (7) ประโยชน์การใช้สื่อสังคม คือ การฟังนักเรียนเข้าใจการใช้ความหมายของกลุ่มคำและวลี การพูดนักเรียนได้ฝึกการพูดคุยกับผู้อื่น การอ่านนักเรียนมีทักษะการอ่านดีขึ้น และการเขียนนักเรียนมีทักษะการเขียนดีขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5635
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161430.pdf14.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons