กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5637
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs of large agricultural land polt of Farmers in Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ,อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิรวุฒ มงคล, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--สกลนคร
เกษตรกร--ไทย--สกลนคร
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร (2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร (3) ความต้องการการส่งเสริมการทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร(4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.31 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.64 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.01 คน แหล่งข้อมูลข่าวสารด้านการส่งเสริมการเกษตรจากสื่อบุคคล คือเจ้าหน้าที่รัฐ จากสื่อกลุ่ม คือ การอบรม/สาธิต จากสื่อมวลชน คือนิทรรศการ/การจัดงาน และสื่อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้จากเฟสบุ๊ก ส่วนมากมีที่ดินเป็นของตนเอง มีพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯเฉลี่ย 9.75 ไร่ ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 532.85 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 4,234.03 บาทต่อไร่ รายได้ทั้งหมดจากการขายผลผลิตข้าว(ปีการผลิต2557/58)เฉลี่ย 42,972.22 บาทต่อครัวเรือน (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในระดับมาก (3) เกษตรกรมีความต้องการในวิธีการส่งเสริม 3 แบบ ได้แก่ แบบรายบุคคลเน้นการเยี่ยมเยือนเป็นหลัก แบบรายกลุ่มเน้นการจัดทำแปลงเรียนรู้ แบบมวลชน เน้น การได้รับข้อมูลจากหอกระจายข่าวชุมชน ซึ่งความรู้ที่ต้องการให้มีการส่งเสริมมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิต เน้น การแปรรูปสินค้า ด้านการตลาดเน้นช่องทางในการจำหน่ายและการจัดการราคา ด้านความรู้ในกระบวนการเข้าสู่การทำแปลงใหญ่ เน้น ผลลัพธ์ที่ได้รับหลังจากเข้าร่วมโครงการ ส่วนในด้านการการสนับสนุน เน้น การได้รับความช่วยเหลือจากผู้จัดการแปลง (4) เกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย คือ ปัญหาด้านการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ด้านขั้นตอนการเข้าสู่กระบวนการแปลงใหญ่ และปัญหาน้อยที่สุดคือ ด้านการสนับสนุน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5637
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148587.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons