กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5642
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรในจังหวัดชัยนาท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The operations of young farmer groups in Chai Nat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุทิน จันอิน, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ยุวเกษตรกร--ไทย--ชัยนาท
เกษตรกร--การรวมกลุ่ม--ไทย--ชัยนาท
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของสมาขิกกลุ่มยุวเกษตรกร (2) ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร (3) เปรียบเทียบการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร (5) ปัญหา และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) สมาชิกยุวเกษตรกรกลุ่มที่ได้รับรางวัล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 12.33 ปี ศึกษาอยู่ระดับประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 การติดต่อสื่อสารภายในกลุ่มกับครูที่ปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์ มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทำการเกษตร บิดามารดาประกอบอาชีพทำนา มีประสบการณ์ทางการเกษตร มีความสนใจด้านการเกษตร สมาชิกยุวเกษตรกรกลุ่มที่ไม่ได้รับรางวัล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงเช่นกัน อายุเฉลี่ย 12.86 ปี ศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีการติดต่อสื่อสารภายในกลุ่มกับครูที่ปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์ มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทำการเกษตร บิดามารดาประกอบอาชีพปลูกพืชไร่ มีประสบการณ์ทางการเกษตรมีความสนใจด้านการเกษตร (2) สมาชิกยุวเกษตรกรกลุ่มที่ได้รับรางวัล มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรอยู่ในระดับมาก ส่วนสมาชิกยุวเกษตรกรกลุ่มที่ไม่ได้รับรางวัล มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลางและผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (3) การเปรียบการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรที่ได้รับรางวัลและกลุ่มยุวเกษตรกรที่ไม่ได้รับรางวัล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ด้านพฤติกรรม ด้านความพึงพอใจ และด้านผลลัพธ์ที่ได้จากการเป็นสมาชิกกลุ่ม/การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงาน ได้แก่ ด้านกำลังคน ด้านการประสานงาน ด้านการนาหรือการจูงใจ ด้านงบประมาณ ด้านการติดตามและประเมินผล ด้านการจัดการ และด้านวัสดุอุปกรณ์ (5) ทั้งสองกลุ่มมีปัญหาและข้อเสนอแนะเช่นเดียวกันคือ ด้านกำลังคนมีน้อย วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณไม่เพียงพอ และขาดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ดังนั้นคณะกรรมการและสมาชิกยุวเกษตรกร เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ควรมีการวางแผนการดำเนินงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5642
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148721.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons