กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5645
ชื่อเรื่อง: ความต้องการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลผาสุก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs in seasonal rice production and marketing of farmers in Pha Sook Sub-district, Kumphawapi District, Udon Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิชาต ฟองสินธุ์, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าวนาปี--ไทย--อุดรธานี
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวนาปี (2) ความรู้ความเข้าใจการผลิตและการตลาดข้าวนาปี (3) สภาพการผลิตและการตลาดข้าวนาปี (4) ความต้องการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวนาปี (5) ปัญหา และข้อเสนอแนะการผลิตและการตลาดข้าวนาป ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรเกือบสองในสามเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.49 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกข้าวนาปีเฉลี่ย 22.08 ปี ผลิตข้าวโดยใช้ทุนของตนเอง รายได้จากการขายข้าว 24,940.59 บาทต่อปี (2) เกษตรกรมากกว่าสองในสามมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตและการตลาดข้าวนาปีในระดับปานกลาง (3) แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.66 คน มีที่ดินเป็นของตนเอง มีพื้นที่ผลิตข้าวเฉลี่ย 16.61ไร่/ครอบครัว ผลผลิตข้าวเหนียวเฉลี่ย 300.38 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตข้าวเจ้าเฉลี่ย 232.33 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ผลิตข้าวเหนียวโดยใช้ พันธุ์ กข6 เพื่อการบริโภคที่เหลือจึงนาไปขาย ส่วนใหญ่ทำนาหว่านข้าวแห้ง ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บเอง ปรับปรุงดินโดยไถกลบฟางข้าว ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร16-8-8 เกษตรกรมากกว่าหนึ่งในสามใช้เคียวเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรเกือบครึ่งนวดข้าวด้วยเครื่องจักร เก็บข้าวในยุ้งฉางที่ไม่สามารถป้องกันนกหนูได้ เกษตรกรส่วนใหญ่ขายข้าวให้กับโรงสีในอำเภอ (4) ความต้องการความรู้ในการผลิตและการตลาดข้าวนาปีได้แก่ การใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ การทำนาหว่านข้าวแห้ง การผลิตข้าวให้มีคุณภาพ ความต้องการวิธีการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวนาปี วิธีการส่งเสริมแบบรายบุคคล ได้แก่ การเยี่ยมเยียนเป็นรายบุคคล วิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม ได้แก่ การอบรมและสาธิต วิธีการส่งเสริมแบบมวลชน ได้แก่ หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ความต้องการด้านการสนับสนุนได้แก่ สนับสนุนศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนผลิตเมล็ดพันธุ์ให้เพียงพอ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้เพียงพอ (5) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีราคาแพง เมล็ดพันธุ์ข้าวมีราคาแพง แรงงานปลูกข้าวมีราคาแพง เกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่ารัฐควรจัดหาเครื่องเกี่ยวข้าวมาใช้ในหมู่บ้าน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ประกันราคาข้าวขั้นต่ำ ควบคุมโรงสีไม่ให้เอาเปรียบเกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5645
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148744.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons