กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5651
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for young smart farmer development in Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นลทวรรณ มากหลาย, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--ระยอง
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดระยอง (2) กระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (3) เปรียบเทียบศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ก่อนและหลังจัดกระบวนการเรียนรู้ (4) ปัจจัยเอื้อที่มีผลต่อการพัฒนา (5) แนวทางการพัฒนา เกษตรกรรุ่นใหม่ (6) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาชิก เกษตรกรรุ่นใหม่ สองในสามเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 36.93 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำการเกษตรเฉลี่ย 1.9 ปี ครึ่งหนึ่งเป็นอาสาสมัครและผู้นำชุมชน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรจากเจ้าหน้าที่รัฐ ปราชญ์ชาวบ้าน/เกษตรกรปราดเปรื่องและอาสาสมัครเกษตร พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 36.32 ไร่ ส่วนใหญ่ที่ดินเป็นของตนเอง กิจกรรมการเกษตร ส่วนใหญ่ปลูกไม้ผล (ทุเรียน เงาะ) มีแรงงานเฉลี่ย 3.63 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจ้าง เกษตรกรรุ่นใหม่มีรายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 528,166.67 บาทต่อปี รายจ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ย 482,000 บาทต่อปี ใช้สินเชื่อของตนเอง มีหนี้สินรวมเฉลี่ย 615,000 บาทต่อปี (2) กระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรรุ่นใหม่ เห็นว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งระยะที่1 และระยะที่ 2 ระยะ คือ มีความเหมาะสมในระดับมาก ทั้งด้านเนื้อหา วิธีการ วิทยากร สถานที่ และระยะเวลา (3) ศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ก่อนและหลังการจัดเวที มีระดับความสามารถตามคุณสมบัติเพิ่มขึ้น เกือบทุกประเด็น โดยเฉพาะมีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่และมีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค (4) ปัจจัยเอื้อที่ส่งผลต่อการพัฒนา เกษตรกรรุ่นใหม่เห็นด้วยมากว่าปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนา ได้แก่ วิทยากร ผู้รู้/ต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ กิจกรรมในการเรียนรู้แต่ละครั้งและเนื้อหาหลักสูตร (5) แนวทางพัฒนา เกษตรกรรุ่นใหม่เห็นว่าควรจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบเพื่อนเยี่ยมเพื่อนและฝึกความเป็นผู้นำมากที่สุด รองลงมาควรประชาสัมพันธ์ผลงานเกษตรกรรุ่นใหม่ต้นแบบเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรรุ่นใหม่สนับสนุนการสร้างเครือข่าย และจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (6) ปัญหาที่พบ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้รู้จักเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยข้อเสนอแนะ ให้มีการประชาสัมพันธ์ผลงานของเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มากขึ้น และสมาชิกควรพบปะกันสมํ่าเสมอ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5651
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
149463.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons