กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5653
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตมันเส้นสะอาดสำหรับเกษตรกร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension and development patterns of clean cassava chips production for farmers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมเกียรติ์ กสิกรานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
น้ำ คำมุลตรี, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มันสำปะหลัง
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการผลิตมันเส้นของเกษตรกร 2) สภาพการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังและมันเส้นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 3) การพัฒนารูปแบบการผลิตมันเส้นสะอาด และ4) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตมันเส้นสะอาด ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรเกือบสองในสามมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตมันเส้นในระดับน้อย เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยผลิตมันเส้น ประสบการณ์ในการผลิตมันเส้นเฉลี่ย 3.04 ปี เหตุผลที่สาคัญที่สุดในการผลิตมันเส้นคือ การมีรายได้มากกว่าขายหัวมันสำปะหลังสด แหล่งที่ได้รับความรู้การผลิตมันเส้นมากที่สุด คือ เพื่อนบ้าน เกษตรกรมีความพึงพอใจในการผลิตมันเส้นในระดับมาก และสามในสี่สนใจที่จะรับการถ่ายทอดความรู้การผลิตมันเส้นสะอาด 2) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรส่วนมากไม่มีการส่งเสริมการผลิตมันเส้น มีการส่งเสริมการผลิตมันเส้นโดยวิธีการฝึกอบรม ส่วนมากสนใจรับการถ่ายทอดความรู้การผลิตมันเส้นสะอาดด้วยวิธีฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และมีความคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมผลิตมันสำปะหลังและมันเส้นในระดับมาก 3) การพัฒนารูปแบบการผลิตมันเส้นสะอาด ต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตมันเส้นสะอาดใหม่จากกระบวนการผลิตเดิมทั้งหมด ตั้งแต่การเตรียมหัวมันสำปะหลัง การสับมันสำปะหลัง การตากมันสำปะหลัง จนถึงการเก็บรักษามันเส้น ทั้งนี้ มีการนารูปแบบการผลิตมันเส้นสะอาดไปพัฒนาให้เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ โดยการจัดกลุ่มสนทนาเกษตรกร และทบทวนโดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเจ้าของลายมัน โดยมีความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบดังกล่าวในระดับมากที่สุด 4) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตมันเส้นสะอาด โดยกาหนดรูปแบบการส่งเสริมตามรูปแบบกระบวนการสื่อสาร (SMCR) พัฒนารูปแบบโดยการกาหนดรูปแบบไปสนทนากลุ่มกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับบริหารและเจ้าของลานมัน หลังจากนั้น มีการพัฒนารูปแบบให้สมบูรณ์ โดยนาไปให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับปฏิบัติการแสดงความคิดเห็นต่อรูปแบบ พบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับมากต่อรูปแบบการส่งเสริมการผลิตมันเส้นสะอาด
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5653
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
149581.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons