กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5658
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกรผู้ปลูกยางใหม่ในอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Para rubber production technology of new rubber farmers in Buntharik District, Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลัดดา พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สรชัย พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญชู สายธนู, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ยางพารา--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกยางใหม่ 2) สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตยางพารา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจกับเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและความต้องการเทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกยางใหม่ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.8 ปี มีประสบการณ์ในการ ทำสวนยางเฉลี่ย 7.1 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) มีรายได้ครอบครัว เฉลี่ย 196,910.8 บาทต่อปี ใช้เงินทุนของตนเองในการทาสวนยาง มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 11.7 ไร่ 2) สภาพเทคโนโลยี ที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ RRIM 600 ในการปลูก มีการไถเตรียมดิน 2 ครั้ง การวางแนวปลูกวางจากทิศเหนือไปทิศใต้ มีระยะปลูกที่ 3.0×7.0 เมตร ไม่มีการวิเคราะห์ดิน และไม่มีการให้น้ำต้นยาง ส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยก่อนเปิดกรีด (ปีที่ 1-7) สูตร 20-10-12 และหลังเปิดกรีด สูตร 30-5-18 หรือ 29-5-18 มีการตัดแต่งกิ่งที่ระดับสูงกว่า 2 เมตร ให้ชิดลาต้น การกรีดยางส่วนใหญ่เปิดกรีดยางที่อายุ 6 ปี ที่ระดับความสูง 90-109 เซนติเมตร ความลาดเอียง 30-35 องศา ขนาดเส้นรอบลำต้นมากกว่า 49 เซนติเมตร ใช้ระบบกรีดยางแบบครึ่งลำต้น 2 วันเว้น 1 วัน ระยะเวลาการกรีดอยู่ ในช่วง 151-160 วันต่อปี 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ พบว่า รายได้ครอบครัว มีความสัมพันธ์กับการวางแนวปลูก การใส่ปุ๋ย การป้องกันโรคยางพารา การป้องกันแมลง และการกรีดยางพารา ประสบการณ์ในการปลูกยางพารา มีความสัมพันธ์กับระยะปลูก และพื้นที่ในการปลูกยางพารา มีความสัมพันธ์กับการตัดแต่งกิ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ 4) ปัญหาในการผลิตยางพารา ได้แก่ เกษตรกรไม่มีความรู้เรื่องโรคยางพารา ปุ๋ยมีราคาแพง และแหล่งน้ำไม่เพียงพอ ความต้องการของเกษตรกร ได้แก่ ต้องการความรู้ในการแปรรูปยางพารา การกรีดยางพารา และการป้องกันกำจัดโรคและศัตรูยางพารา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5658
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150122.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons