Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/565
Title: | ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการในศูนย์สุขภาพชุมชนของจังหวัดนครนายก |
Other Titles: | Opinion of public health staffs about provider development of primary care unit in Nakornnayok province |
Authors: | เยาวภา ปิ่นทุพันธ์ กนิษฐ์ โง้วศิริ, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พรทิพย์ กีระพงษ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ทัศนคติ ศูนย์สุขภาพชุมชน--ไทย--นครนายก |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยแบบสำรวจเชิงพรรณนานี้ มุ่งหวังเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการในศูนย์สุขภาพชุมชน โดยดำเนินการกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนจํานวน 210 คน ในศูนย์สุขภาพชุมชน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบอัตราส่วนประมาณค่าที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าประมาณ 30 ขึ้นไปในทุกรายการ ซึ่งถูกส่งตามสายงานไปยังเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้รับ แบบสอบถามคืน จํานวน 194 ชุด คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 93.4 สัดส่วนที่ไม่ตอบเป็นเพราะอยู่ในระหว่างการอบรมและย้ายไปทํางานที่อื่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเป็นค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกตำแหน่งเคยได้รับการอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จําเป็นสําหรับการปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน ยกเว้นทันตาภิบาล ไม่เคยได้รับการอบรมเรื่องใดเลย 2 เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกันในระดับปานกลาง เกี่ยวกับความจําเป็นต้องจัดให้มีแพทย์ บริการตรวจรักษาโรคในศูนย์สุขภาพชุมชน และในระดับมากเกี่ยวกับการพัฒนาเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยให้เป็นผู้ตรวจรักษาโรคที่พบบ่อยในชุมชนได้ 3) เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับปานกลางเกี่ยวกับความสามารถของคนในการดำเนินงานด้านบริการ บริหารจัดการและวิชาการ 4) เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ความต้องการฝึกอบรม/เรียงตามลำดับจากระดับมากไปหาน้อยในเรื่อง การวางแผนแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การดำเนินงานวิจัยสาธารณสุข การคิดต้นทุนต่อหน่วยบริการและการติดตามประเมินแผนงาน/โครงการ ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัย คือ ความจำเป็นในการเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการวางแผนและการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ควบคู่ไปกับการกําหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานด้านบริการ บริหารจัดการ และวิชาการ ของศูนย์สุขภาพชุมชน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/565 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License