กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5660
ชื่อเรื่อง: | การยอมรับของราษฎรต่อการแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง จังหวัดชัยภูมิ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The acceptance of people on land tenure problem solving in Saithong National Park Chaiyaphum Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดุสิต เวชกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา ชัยวัฒน์ คงสม, อาจารย์ที่ปรึกษา สุริยะ นุชพืช, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | การถือครองที่ดิน |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม (2) ความรู้ ความเข้าใจของราษฎรต่อการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดิน (3) การยอมรับของราษฎรต่อขั้นตอนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดิน (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมกับการยอมรับของราษฎรต่อขั้นตอนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดิน และ (5) ปัญหาข้อเสนอแนะของราษฎรต่อการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดิน ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง จังหวัดชัยภูมิ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.3 อายุเฉลี่ย 48.12 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 70.9 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ 4 คน ทำเกษตรกรรม ร้อยละ 86.2 รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 129,645 บาท/ปี มีหนี้สิน ร้อยละ 77.4 ย้ายมาจากหมู่บ้านอื่น ร้อยละ 78.0 ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานเฉลี่ย 31.28 ปี จำนวนเนื้อที่ที่ถือครองเฉลี่ย 43.80 ไร่ ได้ที่ดินมาโดยพ่อแม่มอบให้ ร้อยละ 74.3 ทำประโยชน์ในที่ดินเอง ร้อยละ 97.0 ใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มพื้นที่ ร้อยละ 92.9 ที่ดินมีความเพียงพอแล้ว ร้อยละ 68.1 ไม่คุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ร้อยละ 53.2 (2) ราษฎรร้อยละ 54.6 มีความรู้ความเข้าใจต่อการการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินระดับปานกลาง (3) ราษฎรยอมรับขั้นตอนการดำเนินงานในระดับน้อยทุกขั้นตอน (4) ปัจจัยพื้นฐานที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับขั้นตอนการดำเนินงาน ได้แก่ อายุ วิธีการได้มาของที่ดิน วิธีการทำประโยชน์ในที่ดิน ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และความรู้ความเข้าใจต่อการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดิน (5) สำหรับปัญหาต่อการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ชี้แจงโครงการไม่ทั่วถึง แนวเขตควบคุมพื้นที่ไม่ชัดเจน และราษฎรไม่มีส่วนร่วม ส่วนข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่ ราษฎรขออยู่อาศัยทำกินในพื้นที่เดิม ให้ส่งข้อมูลแผนที่การถือครอง และแผนที่แนวเขตควบคุมพื้นที่ให้ชุมชนและราษฎรที่เกี่ยวข้อง และรับรองสิทธิกรณีพื้นที่พิสูจน์สิทธิ์แล้วอยู่ก่อน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5660 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
150215.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License