Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/567
Title: การประเมินความสามารถการปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นพันธมิตรชุมชน ในการกำหนดและแก้ไขปัญหาสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย ในจังหวัดชลบุรี
Other Titles: An assessment of community health performance for mobilizing community partnership in identifying and solving health problems among public health personnel of health centers in Cholburi Province
Authors: เยาวภา ปิ่นทุพันธ์
กรชนก วุฒิสมวงศ์กุล, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ขวัญชัย วิศิษฐานนท์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ชลบุรี--การประเมิน.
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ชลบุรี--ภาระงาน.
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถการปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นพันธมิตรชุมชน (2) เพื่อศึกษาโอกาสในการปฏิบัติงานงานสาธารณสุขชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นพันธมิตรชุมชนตามทักษะที่จำเป็น 8 ด้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัยในจังหวัดชลบุรี (3) เพื่อศึกษาความต้องการในการศึกษาอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นพันธมิตรชุมชน ประชากรที่ทำการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัยในจังหวัดชลบุรี ตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำแหน่งอื่นๆ จำนวน 101 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามให้ประเมินตนเองตามทักษะที่จำเป็น 8 ด้าน ได้แก่ ทักษะที่ 1 การประเมินเชิงวิเคราะห์ ทักษะที่ 2 การจัดทำนโยบายและการวางแผนโครงการ ทักษะที่ 3 การสื่อสาร ทักษะที่ 4 ด้านสังคมและวัฒนธรรม ทักษะที่ 5 การปฏิบัติงานในชุมชน ทักษะที่ 6 การสาธารณสุขพื้นฐาน ทักษะที่ 7 การวางแผนการเงินและการจัดการ และทักษะที่ 8 ภาวะผู้นำและการติดอย่างเป็นระบบ โดยให้ประเมินตนเองตามแบบสอบถามทีผู้วิจัยที่แปลและเรียบเรียงจาก Core Competency for Public Health Professionals, Saskatchewan Health 2001. ซึ่งได้ค่าทดสอบความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัยในจังหวัดชลบุรีมีความสามารถการปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นพันธมิตรชุมชนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (สามารถทำได้, สามารถทำได้อย่างง่ายดาย, และสามารถทำได้และสอนคนอื่นได้) (2) หัวหน้าสถานีอนามัยมีโอกาสในการปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นพันธมิตรชุมชนตามทักษะที่จำเป็น 8 ด้าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และในทักษะที่จำเป็นที่ 6 อยู่ในระดับที่ต้องได้รับการส่งเสริม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำแหน่งอื่น ๆ ส่วนใหญ่มีความสามารถตามทักษะชำเป็นที่ 1,2,6,7, 8 ในการปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชน เพื่อการขับเคลื่อนการเป็นพันธมิตรชุมชนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และในทักษะจำเป็นที่ 3,4, 5, อยู่ในระดับที่ยอมรับได้น้อยและต้องได้รับการส่งเสริม (3) ความต้องการศึกษาอบรมเพิ่มเติมและการส่งเสริมให้มีโอกาสในการปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นพันธมิตรชุมชนตามทักษะจำเป็นที่ ในทักษะชำเป็นที่ 3 การสื่อสาร ทักษะที่ 4 ด้านสังคมและวัฒนธรรม ทักษะที่ 5 การปฏิบัติงานด้านชุมชน และทักษะที่ 6 ด้านวิชาการทางสาธารณสุขพื้นฐาน
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/567
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
98024.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons