Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/568
Title: ปัญหาการปรับใช้ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในคดีปกครองของศาลปกครอง
Other Titles: Problems on the application of law concerning public order of the administrative court in administrative cases
Authors: กมลชัย รัตนสกาววงศ์
มยุรา อินสมตัว, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สิริพันธ์ พลรบ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
ความมั่นคงแห่งชาติ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการพื้นฐานในการพิจารณา คดีปกครองและคดีอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในคดีปกครองและการอนุญาโตตุลาการของต่างประเทศ และของไทย 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการนําข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไปปรับใช้ในคดีปกครองทั่วไป และการอนุญาโตตุลาการของศาลปกครองของไทย 4) เพื่อเสนอแนวทางปรับใช้ ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในคดีปกครองทั่วไป และการอนุญาโตตุลาการ ของศาลปกครองของไทย วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตํารา บทความ งานวิชาการอื่น ๆ วิทยานิพนธ์ คําพิพากษาและคําสั่งของศาลทั้งในไทยและต่างประเทศ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบคดีปกครองที่ศาลยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยขึ้นพิจารณาแก่คดี ผลการศึกษาพบว่า 1) คดีปกครองเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยศาลและหลักในการพิจารณา เรื่องความสงบเรียบร้อยของประชาชนมุ่งคุ้มครองผลประโยชน์โดยส่วนรวม 2) ในคดีปกครองทั่วไป ศาลปกครองสูงสุดของไทยกับฝรั่งเศสเห็นว่าปัญหาอํานาจศาล เงื่อนไขการฟ้องคดี นิติกรรมทางปกครองที่ทํา โดยปราศจากอํานาจ โดยฝ่าฝืนกฎหมาย และมูลเหตุจูงใจทางกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งฝรั่งเศสเคร่งครัดในการยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ส่วนไทยเห็นว่า ศาลมีดุลพินิจที่จะยกหรือไม่ยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวก็ได้ ส่วนการอนุญาโตตุลาการ การเพิกถอนหรือ ปฏิเสธการบังคับตามคําชี้ขาดต้องเป็นกรณีที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเท่านั้น 3) คดีปกครอง ทั่วไปและการอนุญาโตตุลาการ ศาลใช้ดุลพินิจยกข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยไม่ปรากฏ ขอบเขต 4 ) คดีปกครองทั่วไปศาลควรมีขอบเขตชัดเจนในการใช้ข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อย ของประชาชน พิจารณาอํานาจศาล เงื่อนไขการฟ้องคดีและการดําเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก และ ควรกำหนดประเด็นก่อนการพิจารณาคดี ส่วนคดีอนุญาโตตุลาการศาลมีอํานาจเพียงตรวจสอบความชอบด้วย กฎหมายของคําชี้ขาด หากจะพิจารณาถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการจะต้องใช้หลักกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความ สงบเรียบร้อยของประชาชนอย่างเคร่งครัด และควรมีการพิจารณาคดีอนุญาโตตุลาการเพียงศาลเดียว
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/568
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib161724.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons