กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5688
ชื่อเรื่อง: การจัดการการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Rubber production management by farmers in Fao-Rai District of Nong Khai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
อิสรพงษ์ วิชัยศร, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: ยางพารา--การปลูก
ยางพารา--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้ความเข้าใจในการผลิตยางพาราของเกษตรกร (3) การจัดการการผลิตยางพาราของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตยางพาราของเกษตรกร (5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการจัดการการผลิตยางพารา ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-5 คน มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ช่วยทำการเกษตร 2 คน ทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก ปลูกยางพาราในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ มีพื้นที่ปลูกยางเฉลี่ย 17 ไร่ มีภาระหนี้สิน เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าและกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตัดสินใจปลูกยางพารา เพราะเพื่อน คนในชุมชน หรือผู้นำชุมชนชักชวน เกษตรกรมีความคิดเห็นที่จะดำเนินการปลูกยางพาราต่อไป แต่จะไม่เพิ่มพื้นที่ปลูก เกษตรกรไม่เคยเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับยางพารา ไม่มีการจ้างแรงงาน และไม่มีตำแหน่งทางสังคม (2) เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตยางพาราในประเด็นต่างๆ ทั้งการกําจัดวัชพืช การตัดแต่ง การใส่ปุ๋ย โรคและอาการผิดปกติ สารเคมีเร่งนํ้ายาง และการกรีดยางพารา เฉลี่ย 13 ข้อ จากจำนวนคำถาม 21 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 56.29 (3) เกษตรกรมีการปฏิบัติมากที่สุดในสวนยางพาราทั้งการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจำหน่าย โดยในด้านการดูแลรักษาสวนยาง คือ วิธีการใส่ปุ๋ยที่ถูกวิธีตามคำแนะนำ และการทำแนวกันไฟ ในด้านการเก็บเกี่ยว คือ การปฏิบัติที่ดีก่อนการกรีดยาง และการหยุดกรีดในช่วงยางผลัดใบ และในด้านการจำหน่าย คือ มีการจำหน่ายผลผลิต จำนวน 2 ครั้ง/เดือน และมีการจำหน่ายผลผลิตในรูปยางก้อนถ้วย (4) เกษตรกรมีปัญหา ที่สำคัญในการจัดการการผลิตยางพารา คือ ราคาผลผลิตไม่มีความแน่นอน การกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง และปุ๋ยเคมีมีราคาสูง โดยภาครัฐควรมีนโยบายช่วยเหลือด้านการประกันราคาผลผลิต (5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการการผลิตยางพารา คือ ความรู้ความเข้าใจในการผลิตยางพาราของเกษตรกร (P< 0.01)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 255
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5688
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150220.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons