Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5699
Title: สภาพการผลิตและความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Mango production and extension needs of Farmers in Chai PraKan District of Chiang Mai Province
Authors: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรพรรณ ขันสุรินทร์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มะม่วง--การผลิต
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วง (3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะม่วง และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตมะม่วงของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่ อายุเฉลี่ย 56.46 ปี มีประสบการณ์การในการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 10.42 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการผลิต และความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วง แต่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรระดับมากจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผู้นำชุมชน โทรทัศน์ การประชุม/สัมมนา และการอบรม รายได้ของครัวเรือนจากการจำหน่ายผลผลิตมะม่วงเฉลี่ยปีละ 183,893.78 บาท และรายจ่ายจากการลงทุนผลิตมะม่วงเฉลี่ยปีละ 67,464.95 บาท (2) เกษตรกรมีพื้นที่ทำสวนเฉลี่ย 7.66 ไร่ จำนวนต้นที่ปลูกและเก็บเกี่ยวได้เฉลี่ย 921.21 และ 653.37 ต้นตามลำดับ ระยะปลูก 4x4 เมตร ปลูกในพื้นที่ราบ ดินร่วน มะม่วงพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ น้ำดอกไม้สีทอง จีนหวง และมหาชนก ตามลำดับ ได้พันธุ์ดีมาจากการเสียบยอด แหล่งน้ำจากน้ำฝน ระบบน้ำปล่อยตามร่อง/บนผิวดิน ใส่ปุ๋ยคอกปีละครั้ง เฉลี่ยต้นละ 3.9 กิโลกรัม ในช่วงบำรุงต้นและช่วงติดผลใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ใช้ไกลโฟเซตในการกำจัดวัชพืช ใช้คาร์เบนดาซิม และแมนโคเซบในการป้องกันกำจัดโรคพืช และใช้อะบาเม็กตินในการป้องกันกำจัดแมลง มีการฉีดพ่นสารเคมีก่อนการห่อผล ไม่ใช้สารช่วยเร่งในการออกดอก เก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้กรรไกรตัดในเดือนมิถุนายน ตัดสินใจเก็บเกี่ยวโดยการสังเกตสีผิวผล มีการคัดเกรด/คุณภาพผลก่อนการบรรจุในภาชนะตะกร้าพลาสติกจำหน่ายในรูปขายเหมาเป็นกิโลกรัมแก่พ่อค้ามารับซื้อถึงสวน (3) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมอยู่ระดับมากที่สุด ด้านการให้บริการและสนับสนุนปัจจัยการผลิต และระดับมากด้านเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงและด้านรูปแบบการส่งเสริมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรโดยการเยี่ยมเยียน (4) เกษตรกรมีปัญหาในระดับมากด้านการผลิต ด้านการส่งเสริม และด้านการตลาด ตามลำดับ และมีความเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในระดับมากที่สุด
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5699
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151236.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons