กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5702
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดองค์กรคุณภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The operation of community enterprises in Phetchaburi Province according to the concepts of Quality Organization
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พันวิทย์ ศรีสังข์งาม, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: วิสาหกิจชุมชน--ไทย--เพชรบุรี
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยพื้นฐานของสมาชิกและบริบทของวิสาหกิจชุมชน 2) ประเมินการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนตามแนวคิดองค์กรคุณภาพ 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามแนวคิดองค์กรคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) วิสาหกิจชุมชน กลุ่มระดับดี มีสินค้าและบริการ มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า มีการจัดทำข้อมูลทางการเงิน มีการกําหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญให้กับสมาชิก มีการพัฒนาสมาชิกที่สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน มีการจัดสรรผลตอบแทนและสวัสดิการ และมีผู้ส่งมอบวัตถุดิบ กลุ่มระดับปานกลาง มีสินค้าและบริการ มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า มีการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญให้กับสมาชิก มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการพัฒนาสมาชิกที่สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน และมีผู้ส่งมอบวัตถุดิบ แต่ไม่มีการสร้างตราสินค้า กลุ่มระดับต้องปรับปรุง มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า มีการกำหนดโครงสร้างการดำเนินการ แต่ส่วนใหญ่ไม่มีการให้อำนาจการตัดสินใจในการบริหารจัดการ ไม่มีการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ไม่มีการวางแผนการดำเนินงาน ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลของลูกค้า ไม่มีการสร้างตราสินค้า และไม่มีมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ 2) จากการประเมินโดยใช้องค์ประกอบตามแนวคิดองค์กรคุณภาพ กลุ่มระดับดี และกลุ่มระดับปานกลาง มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.03 และ 2.67 และกลุ่มระดับต้องปรับปรุง มีการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ย 1.55 3) ปัญหาโดยรวม ได้แก่ การนำองค์กร และการวางแผน โดยภาพรวม ควรพัฒนาเรื่อง การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการดำเนิน งานที่ชัดเจน และการจัดทำและการนำแผนไปปฏิบัติ กลุ่มระดับดี ควรพัฒนาเรื่อง การประเมินความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้า และการกำหนดเป้าหมายทางตลาดสำหรับสินค้า/บริการ กลุ่มระดับปานกลาง ควรพัฒนาเรื่อง การประเมินความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้า และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจ กลุ่มระดับต้องปรับปรุง ควรพัฒนาเรื่อง การวางแผนการดำเนินงาน และการรับฟังลูกค้าในปัจจุบันและอนาคต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5702
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151237.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons