กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/573
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเมโย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Patient satisfaction to Health Care Services of Mayo Hospital's Outpatient Department
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โกวิน วัฒนพงศ์พันธ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรเดช ประดิษฐบาทุกา, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรวิกา วีระพานิช, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลเมโย--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
ผู้ป่วยนอก
บริการการพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเมโย ในปัจจัยด้านคุณภาพบริการ ปัจจัยด้านการเข้าถึงบริการ และปัจจัยด้านผู้ให้บริการ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ปัจจัยด้านคุณภาพบริการ ปัจจัยด้านการเข้าถึงบริการ และปัจจัยด้านผู้ให้บริการกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเมโย รูปแบบของการวิจัยเป็นแบบสำรวจเชิงพรรณนา ตัวอย่างคือผู้รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเมโย จำนวน 400 คน ซึ่งเข้ามารับบริการระหว่างวันที่ 1-7 มีนาคม 2549 การคัดเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.973 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ ของแคนดัลล์และสเปียร์แมนการทดสอบที โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจากคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ของผู้รับบริการเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับจ้าง รายได้ต่อเดือนของครอบครัวประมาณ 10,000-20,000 บาท มีมูลเหตุจูงใจในการมารับบริการ คือ อยู่ใกล้บ้านหรือที่ทำงาน รับรู้ความเจ็บป่วยในระดับปานกลาง (1) ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะปัจจัยด้านผู้ให้บริการมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมามีระดับความพึงพอใจใกล้เคียงกัน คือ ปัจจัยด้านคุณภาพบริการ และปัจจัยด้านการเข้าถึงบริการ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริการ ปัจจัยด้านคุณภาพบริการ ปัจจัยด้านการเข้าถึงบริการ และปัจจัยด้านผู้ให้บริการ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ « = 0-05 (3) ปัญหาและอุปสรรค พบว่า เป็นความไม่พึงพอใจเกี่ยวกับระยะเวลาการรอรับบริการ ระบบการนัดหมาย และด้านพฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย การปรับปรุงการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอก ควรมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคทุกสาขา ควรมีการปรับปรุงพฤติกรรมบริการให้มีความเป็นกันเอง ควรมีเครื่องมือทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และควรมีที่จอดรถให้เพียงพอ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/573
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
98022.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons