กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5744
ชื่อเรื่อง: ปัญหาสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The investigation in wrong lawsuit about the gender by inquiry woman official
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชยานนท์ ทองแถม, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
ผู้ต้องหา
สิทธิผู้ต้องหา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ทั่วไป ทฤษฎีและหลักการทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ตลอดทั้งสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศกราช 2550 ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อนามาวิเคราะห์สภาพปัญหาสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลย ตลอดทั้งหาแนวทางการแก้ไขปัญหาพร้อมขอเสนอแนะ การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการ วิจัยทางเอกสาร ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ตำรา หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ตัวบทกฎหมาย บทความและเอกสารที่ เกี่ยวของมาทำการวิเคราะห์สภาพปัญหา เพื่อพิจารณาหาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาต่อไป จากการศึกษาพบว่าปัญหาสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยพบประเด็นปัญหาโดยสรุปดังนี้ 1. ปัญหาสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาที่ไม่เป็นไปตามข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด 2. ปัญหาสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกล่อลวง ให้กระทำความผิดในคดียาเสพติด กล่าวคือการล่อลวงให้ผู้ร้ายเดิมกระทำความผิดกับการล่อลวงให้ผู้บริสุทธิ์กระทำความผิดควรจะมีผลแตกต่างกัน กล่าวคือ การล่อลวงให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยกระทำ ความผิดทั้งที่บุคคลเหล่านั้นไม่มีเจตนากระทำความผิด มาตั้งแต่แรกแต่กระทำความผิดไปเนื่องจากการจูงใจและการขอร้องจากผู้ลวงให้กระทำความผิดอาจกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศกราช 2550 ได้อีกทั้งบุคคลเหล่านั้นอาจต้องถูกรัฐฟ้องร้อง ดำเนินคดีอาญาทำให้ต้องเสียทั้งสิทธิและเสรีภาพไป และ 3. ปัญหาการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 กับหลักสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้น กรณีการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยต้องขอหมายจากศาลก่อนจะสร้างความล่าช้าส่งผลใหเกิดความเสียหายกับประเทศชาติได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5744
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_138854.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons