กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5775
ชื่อเรื่อง: การใช้ดุลพินิจลงโทษและการกำหนดโทษทางอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Procedural punishment and determine penalties
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุจินตนา ชุมวิสูตร
ชินวัต จันทรานนท์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
กระบวนการกำหนดโทษคดีอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
การลงโทษ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การใช้ดุลพินิจลงโทษและการกำหนดโทษทางอาญา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ในการนำปรัชญาอาชญาวิทยา ทฤษฎีการลงโทษมาประยุกต์ใช้ ประกอบการกำหนดโทษ เพื่อความเหมาะสมในการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญา โดย ทำการศึกษาแนวทางการใช้ดุลพินิจการลงโทษและการกำหนดโทษทางอาญาในต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยแล้วนำมาพิเคราะห์ถึงอุปสรรคและปัญหาหรือข้อบกพร่องในกระบวนการทางอาญา เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขหรือปรับปรุงปัญหาจากการลงโทษ และการกำหนดโทษของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยทางเอกสารวิชาการ ต่าง ๆ บทความ ตำรา งานวิจัย รวมทั้งศึกษาถึงแนวคิด การใช้ทฤษฎีจากคำพิพากษาในอดีต เกี่ยวกับ การลงโทษ และการใช้ดุลพินิจการกำหนดโทษ เพื่อการสังเคราะห์ในข้อมูลที่ทำการศึกษาแล้วนำมาสู่การแก้ไขปรับปรุง และนำเสนอเพื่อประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางอาญา ผลการศึกษาพบว่าการใช้ดุลพินิจการลงโทษยังคงเป็นปัญหาอยู่หลายประการ จึงมีผลต่อการกำหนดโทษอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น ข้อบกพร่องในปัญหาของกฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งปัญหาการใช้ดุลพินิจของศาลตามตัวบทกฎหมาย และปัญหาจากการใช้บัญชีอัตราโทษที่กำหนดขึ้นภายในของแต่ละศาลเอง การปรับใช้ทฤษฎีการลงโทษ ผู้พิพากษา ในการพิจารณาคดีก็ยังเกิดความสับสนในการนำมาใช้ เพราะเหตุว่าไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน หรือมีการศึกษากันอย่างจริงจังในระบบกระบวนการทางอาญาของเรา ดังนั้น งานวิจัยที่ทำการศึกษานี้ เพื่อนำเสนอในการประยุกต์ การใช้ดุลพินิจลงโทษ และการกำหนดโทษเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับความผิด และต่อผู้กระทำ ความผิดทางอาญาส่งผลต่อสังคมส่วนรวม ทั้งนี้หากศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษที่ไม่เหมาะสม หรือการกำหนดอัตราโทษที่ขาดหลักเกณฑ์-ทฤษฎีที่ชัดเจนแล้ว จะทำให้ กฎหมายขาดความเชื่อถือจากประชาชน เกิดการไม่ยอมรับต่อกระบวนการยุติธรรม อาจเกิดการแก้แค้นกันเอง อันทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในสังคม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5775
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_146911.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons