กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5791
ชื่อเรื่อง: การจัดการการผลิตและส่วนประสมการตลาดเห็ดขอนขาวของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Production and marketing mix management of Khonkhao Mushroom (Lentinus squarrosulas Mont.) by farmers in Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุพัฒน์ เงาะปก, 2508-
คำสำคัญ: เห็ดขอนขาว--การผลิต
เห็ดขอนขาว--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของผู้ผลิตเห็ดขอนขาวของเกษตรกร 2) การจัดการการผลิตเห็ดขอนขาวของเกษตรกร 3) การจัดการส่วนประสมการตลาดเห็ดขอนขาวของเกษตรกร 4) ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนจากการผลิตเห็ดขอนขาวของเกษตรกร และ 5) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาในการผลิตเห็ดขอนขาวของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เพาะเห็ดส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 43.73 ปี การศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนปลาย มีประสบการณ์ผลิตเห็ด เฉลี่ย 8.46 ปี มีสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.43 คน ส่วนใหญ่เพาะเห็ดเป็นอาชีพหลักในพื้นที่ของตนเอง เฉลี่ย 1.59 ไร่/ฟาร์ม สถานที่ในการทำฟาร์มมีความเหมาะสมมาก 2) การจัดการการผลิตเห็ดขอนขาวมี 2 รูปแบบ คือ การจัดการการผลิตก้อนเชื้อและเปิดดอก และการซื้อก้อนเชื้อมาเปิดดอก 3) การจัดการส่วนประสมการตลาด พบว่า ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด ผลผลิตมีคุณภาพ เกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาเอง ขายในตลาดท้องถิ่นเป็นหลัก ไม่มีการส่งเสริมการตลาด 4) ต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า กลุ่มที่ผลิตก้อนเชื้อและการเปิดดอกเอง มีต้นทุนการผลิตต่อก้อน 4.79 บาท มีกาไรต่อก้อน 15.35 บาท ส่วนเกษตรกรที่ซื้อก้อนเชื้อมาเปิดดอก มีต้นทุนการผลิตต่อก้อน 5.98 บาท มีกำไรต่อก้อน 10.99 บาท และ 5) ปัญหา และแนวทางการพัฒนาในการผลิตเห็ดขอนขาวของเกษตรกร พบว่า (1) เกษตรกรขาดความรู้ในการจัดการส่วนประสมการตลาดมีแนวทางพัฒนาโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอบรมให้ความรู้ (2) วัสดุเพาะมีราคาสูงมีแนวทางพัฒนา โดยจัดหาวัสดุเพาะอื่นทดแทน (3) คุณภาพของเชื้อเห็ดที่ไม่มีประสิทธิภาพมีแนวทางพัฒนาโดยจัดหา หัวเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ (4) ปัญหาโรคและแมลงระบาดมีแนวทางพัฒนาโดยวางแผนระบบสุขาภิบาล และแนวทางป้องกันกำจัดโรคและแมลง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5791
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
152049.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons