กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5796
ชื่อเรื่อง: | ความพร้อมของเกษตรกรในการส่งเสริมการผลิตเป็ดเนื้อแบบมีสัญญาผูกพันในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Farmer readiness for an extension of duck production under contract farming in the Eastern Region of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา มณฑิชา พุทซาคำ, อาจารย์ที่ปรึกษา บุญชัย ท้าวเขตร์, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา. |
คำสำคัญ: | เป็ด--การผลิต เกษตรกร--ไทย (ภาคตะวันออก) การส่งเสริมการเกษตร--ไทย (ภาคตะวันออก) |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) การจัดการฟาร์มเป็ดเนื้อของเกษตรกร (3) ต้นทุนและผลตอบแทนของการเลี้ยงเป็ดเนื้อ (4) ศักยภาพของเกษตรกรในการเลี้ยงเป็ดแบบมีสัญญาผูกพัน (5) การเลี้ยงเป็ดตามระบบมาตรฐานฟาร์มเป็ดเนื้อของเกษตรกร และ (6) ปัญหาของเกษตรกรในการเลี้ยงเป็ดเนื้อ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดเนื้อส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.94 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.57 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.46 คน เกษตรกรมีรายได้ภาคการเกษตรนอกเหนือจากการเลี้ยงเป็ดเนื้อ เฉลี่ย 98,701.43 บาทต่อปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 67,247.37 บาทต่อปี และรายได้รวมทั้งหมดของครัวเรือน เฉลี่ย 165,948.8 บาทต่อปี ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในภาคเกษตร เฉลี่ย 45,120.95 บาทต่อปี (2) ฟาร์มเลี้ยงเป็ดเนื้อมีขนาดเฉลี่ย 8.24 ไร่ จำนวนโรงเรือนเฉลี่ย 1.56 โรงเรือน และมีจำนวนการเลี้ยงเฉลี่ย 3,964.83 ตัว ลักษณะโรงเรือนทั้งหมดเป็นโรงเรือนแบบปิด และส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบอิสระ โดยพบว่า อาหารและลูกเป็ดส่วนใหญ่ได้มาจากการติดต่อซื้อเองจากผู้จำหน่าย ระยะการเลี้ยงเฉลี่ย 46.79 วัน พักเล้าในแต่ละรอบการเลี้ยงเฉลี่ย 27.79 วัน (3) ต้นทุนปัจจัยการเลี้ยงโดยเฉลี่ยต่อ 1 รอบการเลี้ยงเท่ากับ 1,523,703.39 บาท ในขณะที่ผลตอบแทนในการเลี้ยงเฉลี่ย 1,819,917.42 บาท (4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีศักยภาพในการเลี้ยงเป็ดแบบมีสัญญาผูกพัน โดยมีความพร้อมเกือบทุกด้าน มีการปรับปรุงบางประเด็นเพียงเล็กน้อย (5) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการเลี้ยงเป็ดเนื้อได้ตามเกณฑ์มาตรฐานฟาร์มเกือบทุกประเด็น และ (6) ภาพรวมปัญหาของเกษตรกรในการเลี้ยงเป็ดเนื้ออยู่ในระดับปานกลาง 6 ประเด็น และระดับน้อย 4 ประเด็น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร)) --มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5796 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
152356.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License