กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5800
ชื่อเรื่อง: การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยในการปล่อยชั่วคราวชั้นศาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Protecting the rights and liberties of the accused or defendants to be released on bail
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า
ขวัญใจ หวังสะแล่ะฮ์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ต้องหา--การคุ้มครอง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง “การปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของสิทธิการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวของ ผู้ต้องหาหรือจำเลยตามสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและหลักเกณฑ์การ ปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ เกี่ยวกับสิทธิ การขอปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ และ เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในเรื่องการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือ จำเลยให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าจากตำรา บทความทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาปัญหาการปล่อยชั่วคราวนั้น ควรตั้งคำถามก่อนว่าจะให้โอกาสผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือไม่ ถ้าจะให้โอกาสผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการ ปล่อยชั่วคราวแล้ว ก็ไม่ควรจะเน้นในเรื่องหลักประกัน เพียงแต่ต้องพิจารณาว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น จะต้องไม่หลบหนีและจะไม่เป็นอันตรายต่อสังคม และในการปล่อยชั่วคราวนั้นเมื่อพิจารณาในส่วน ของอัตราการหลบหนีการปล่อยชั่วคราวจากสถิติแล้ว จะเห็นได้ว่ามีจำนวนน้อยมาก จึงควรที่จะมีแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ไม่มี พฤติการณ์หลบหนี และไม่เป็นอันตรายต่อสังคมหรือคดีที่มีอัตราโทษจำคุกน้อยและไม่ร้ายแรง ให้ได้รับโอกาสในการปล่อยชั่วคราวให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้สอดคล่องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด แสดงว่าบุคคลใดได้ความผิด จะปฺฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำความผิดไม่ได้”
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5800
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_148431.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons