Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/582
Title: ความพึงพอใจของข้าราชการทหารอากาศชั้นสัญญาบัตร และประทวนต่อการให้บริการทางการแพทย์ของกองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ
Other Titles: Satisfaction of Royal Thai Air Force commissioned and non-commissioned officers with medical services managed by the division of reventive medicine, directorate of medical services, Royal Thai Air Force
Authors: สุรเดช ประดิษฐบาทุกา, อาจารย์ที่ปรึกษา
โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรุณา วิชาพูล, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
กรมแพทย์ทหารเรือ. กองเวชศาสตร์ป้องกัน --บริการทางการแพทย์
กรมแพทย์ทหารเรือ--ข้าราชการ--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
บริการทางการแพทย์--ไทย
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคลของข้าราชการทหารอากาศที่มารับบริการ 2) ระดับความพึงพอใจ ในระบบบริการจากข้าราชการทหารอากาศที่มารับบริการ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจ ระหว่างข้าราชการทหารอากาศชั้นสัญญาบัตร และชั้นประทวนที่มารับบริการ 4) ปัญหา และข้อเสนอแนะในระบบบริการจากข้าราชการทหารอากาศที่มารับบริการ ประชากร ได้แก่ ข้าราชการทหารอากาศที่มารับบริการตรวจสุขภาพและสมรรถภาพ ที่กองเวชศาสตร์ป้องกันฯ จำนวน 26,338 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 394 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญในช่วงเวลาเดือนมีนาคม ถึงเมษายน พ.ศ. 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.985 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีลักษณะดังนี้ เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 40-49 ปี ภูมิลำเนาอยู่ จ.กรุงเทพมหานคร สถานภาพสมรสคู่ วุฒิการศึกษาระดับปรญญาตรี เป็นข้าราชการชั้นประทวน ชั้นยศพันจ่าอากาศเอกพิเศษ-พันจ่าอากาศเอก สังกัด สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง อายุราชการ 20-29 ปี รายได้ เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท และมารับบริการตรวจโรคประจำปี 2) ความพึงพอใจของข้าราชการทหารอากาศที่มารับบริการต่อการให้บริการทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ ด้านบุคลากรที่ให้บริการด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ของกองเวชศาสตร์ป้องกันฯ พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) การเปรียบเทียบความพึงพอใจ พบว่า ข้าราชการทหารอากาศชั้นสัญญาบัตร และข้าราชการทหารอากาศชั้นประทวนที่มารับบริการที่กองเวชศาสตร์ป้องกันฯ มีความพึงพอใจในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน 4) ปัญหาและ ข้อเสนอแนะในการให้บริการที่พบ ได้แก่ ที่จอดรถไม่เพียงพอ ขั้นตอนการรับบริการเจาะเลือดช้า เจ้าหน้าที่ห้องเจาะเลือดและทันตกรรมมีจำนวนไม่เพียงพอ ส่วนแนวทางในการปรับปรุงศักยภาพการบริการของกองเวชศาสตร์ป้องกันฯ ให้ดีขึ้น คือ การปรับปรุงการบริการที่ผู้มารับบริการให้ความสำคัญ เช่น ควรเพิ่มจำนวนบุคลากรให้เพียงพอ ระยะเวลาในการรับบริการควรให้รวดเร็วขึ้น เพิ่มสถานที่จอดรถ เป็นต้น
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/582
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128838.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons