กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5824
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ศึกษากรณีทนายขอแรง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Problem on the Laws relating to the protection of the rights of the suspect or the accused in a criminal case study the lawyer for the force
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฉมาพันธ์ พันธุรัตน์ธาดา, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ต้องหา--การคุ้มครอง
ผู้ต้องหา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ศึกษากรณีทนายขอแรง มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา หลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญากรณีทนายขอแรง (2) เพื่อศึกษาถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญากรณีทนายขอแรง (3) เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญากรณีทนายขอแรง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษาจากตัวบท กฎหมายในรูปแบบของประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด กฎกระทรวง ต่าง ๆ และรวมถึง ผลงานวิจัย หนังสือ ตำรา บทความ รายงานการศึกษา วิทยานิพนธ์ และ เอกสารต่าง ๆ ในรูปแบบอื่น ๆ ผลการศึกษาพบว่า (1) บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาของต่างประเทศ รวมทั้งของประเทศไทย ได้ให้สิทธิต่าง ๆ แก่ผู้ถูกกล่าวหาในอันที่จะให้ผู้ถูกกล่าวหาสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ในขณะเดียวกันก็มีบทบัญญัติห้ามการตรวจสอบความจริงในลักษณะที่มิชอบ อย่างเช่น การสอบปากคำผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน หรือการพิจารณาพิพากษาโดยอาศัยพยานหลักฐานในชั้นศาล เป็นต้น ดังนั้น ผู้ถูกกล่าวหาผู้ต้องหาหรือจำเลยจึงมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายจากทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134/1 มาตรา 173 ในการที่จะสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ ตามหลักการสิทธิมนุษยชนเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในกระบวนการยุติธรรมให้ได้รับความเป็นธรรมในทุกขั้นตอน (2) การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาในกรณีจัดให้มีทนายขอแรงเพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ มีการจัดระบบทนายขอแรงที่แตกต่างกับประเทศไทย ทั้งในเรื่องของการกำหนดประเภทของทนายความที่ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะคดี การจ่ายค่าตอบแทนที่ขึ้นอยู่กับประเภทคดี ประสบการณ์ในการว่าความ การจ่ายตามลักษณะของการทำสัญญาเป็นทนายขอแรง ซึ่งแตกต่างกับของประเทศไทย ที่ไม่ได้กำหนดถึงคุณสมบัติ ประสบการณ์ว่าความ ความเชี่ยวชาญเฉพาะคดี รวมถึงการจ่ายค่าตอบแทนที่มีความยุ่งยาก (3) เห็นสมควรแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาในกรณีที่จัดให้มีทนายขอแรงเพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายให้มีความชัดเจนส่งผลให้กระบวนการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญามีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5824
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_151506.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons