กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5833
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal issue on evidence obtained electronically in criminal cases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมชัย ไหลสกุล, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญา ปัจจุบันสภาพสังคมและรูปแบบของการประกอบอาชญากรรมมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นยากแก่การที่จะสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง และนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีได้ เนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการก่ออาชญากรรมใน คดีอาญาบางประเภทอันมีลักษณะของการกระทำอันร้ายแรงหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของอำนาจอธิปไตย ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยของประเทศและความสงบสุขของประชาชน มักมีรูปแบบในการกระทำความผิดที่สลับซับซ้อนมากและล้วนแล้วแต่มีผลประโยชน์มหาศาลมาเกี่ยวข้องทำให้การวางแผนการในการกระทำความผิดมีความซับซ้อนมีกิจกรรมในองค์กรหลายลักษณะ ฉะนั้นองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบใน การแสวงหาข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานในการที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้มิเช่นนั้นสังคมก็จะดำรงอยู่ไม่ได้ เพราะเหตุนี้เองในพฤติการณ์พิเศษในบางกรณีเจ้าพนักงานของรัฐจำเป็นต้องนำมาตรการสืบสวนวิธีพิเศษสมัยใหม่ให้มีความทันสมัยต่อเทคโนโลยีและการพัฒนารูปแบบของการกระทำความผิด เช่น การดักฟังทางโทรศัพท์และการได้มาซึ่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและยังเป็นวิธีการหยั่งรู้ว่าอาชญากรมีวิธีการลงมือและวางแผนอย่างไร การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารจากการศึกษาค้นคว้า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ตำรวจมีอำนาจสอบสวนซึ่งต้องกระทำการโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมีอำนาจเพียงการออกหมายเรียกส่วนการออกหมายจับต้องขออนุมัติต่อศาล ซึ่งต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้ครบถ้วนและชัดเจน ให้ศาลพิจารณาศาลจึงจะอนุมัติหมายจับให้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสูงสุดเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามกฎหมาย โดยเฉพาะคดีที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนซึ่งไม่อาจดำเนินการได้ ด้วยการออกหมายเรียกหรือการสืบสวนด้วยวิธีการปกติเทียบเคียงกับกฎหมายของประเทศเยอรมันซึ่งใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์เช่นเดียวกับประเทศไทยอนุญาตให้ใช้การดักฟังการสนทนาทางโทรศัพท์เพื่อการสืบสวนการกระทำผิดในคดีอาชญากรรม สำคัญโดยศาลเป็นผู้สั่งอนุญาต ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยในชั้นศาลเท่านั้นกฎหมายฉบับนี้มีลักษณะที่มีการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าทันกับเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้ง เพื่อให้สามารถยับยั้งอาชญากรที่มี ลักษณะเครือข่ายองค์กรอาชญากรรม โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ในการรวบรวมพยานหลักฐานและข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งคดีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญล้วนแล้วแต่เป็นเสรีภาพในการกระทำทั้งสิ้น (Freedom of action) ดังนั้น รัฐควรจะต้องพิจารณาถึงความสามารถของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและจะต้องพยายามเพิ่มขีดความสามารถให้ได้ มาตรฐานที่เหมาะสมโดยมีการบัญญัติบทบัญญัติของกฎหมายที่มีส่วนส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายให้มากที่สุดโดยลดความยุ่งยากในการพิสูจน์ความผิดให้ปราศจากข้อสงสัยและคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญกฎหมายที่จะตราขึ้นให้อำนาจรัฐดักฟังการติดต่อสื่อสารถึงกันทางโทรคมนาคม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5833
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_152434.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons