กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5836
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตใบยาสูบของเกษตรกรในตำบลวังทอง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Tobacco production condition of farmers in Wang Tong-Supdistrict, Si Samrong District, Sukhothai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วราภรณ์ วงค์เขียวแดง, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ยาสูบ--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ (2) เพื่อศึกษาสภาพการผลิตใบยาสูบของเกษตรกร (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตใบยาสูบ(4) เพื่อศึกษาความต้องการการส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับการผลิตใบยาสูบ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ปลูกยาสูบในพื้นที่ตำบลวังทอง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ในฤดูกาลผลิต ปี 2557/58 จำนวน 911 ราย ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 167 ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.86 ปี ส่วนใหญ่เรียนจบชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.31 มีประสบการณ์ปลูกยาสูบเฉลี่ย 27.26 ปี เกษตรกรทุกคนได้เข้าร่วมการประชุม อบรมเกี่ยวกับการปลูกยาสูบ และติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.51 คน พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 10.98 ไร่ มีพื้นที่ปลูกยาสูบเฉลี่ย 7.18 ไร่ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 23,454.77 บาท รายได้จากการผลิตใบยาสูบเฉลี่ย 17,511.77 บาทต่อไร่ แหล่งเงินทุนส่วนมากได้มาจากการกู้ยืมจากธ.ก.ส. (2) การผลิตใบยาสูบ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติในประเด็นต่างๆได้แก่ การดูแลแปลงเพาะ ไถเตรียมดิน กำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ย เก็บใบยาสูบในระยะที่เหมาะสม การป้องกันสิ่งแปลกปลอมบริเวณเสียบใบยาสูบและโรงบ่ม คัดเกรดใบยาก่อนเข้ากำและอัดห่อ (3) เกษตรกรมีปัญหามากที่สุดคือ โรคและแมลงศัตรูพืชระบาด (4) เกษตรกรมีความต้องการความรู้ในระดับมากที่สุดเรื่อง พันธุ์ การเตรียมกล้า การเตรียมดิน การปลูกยาสูบ การดูแลรักษา และการเก็บใบยา ด้านช่องทางการส่งเสริมพบว่า เกษตรกรมีความต้องการในระดับมากที่สุดคือ บุคคลเอกชน บุคคลราชการ คู่มือและแผ่นพับ ด้านวิธีการส่งเสริมพบว่า เกษตรกรมีความต้องการในระดับมากที่สุด คือ การให้คำแนะนำ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน และการสาธิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5836
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159712.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons