กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5838
ชื่อเรื่อง: | การขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรเพื่อการส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดมุกดาหาร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Registration and data update of farmers for agricultural extension in Mukdahan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา ธมกร ไชยบุบผา, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | เกษตรกร--ไทย--มุกดาหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร (3) ปัญหา ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร และ (4) แนวทางการใช้ข้อมูลจากการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรเพื่อการส่งเสริมการเกษตร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรเกินครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.51 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา มีพื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 14.40 ไร่ มีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นของครัวเรือน มีการใช้พื้นที่ทำการเกษตรมากกว่า 1 กิจกรรม โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุด และมีพื้นที่ทำกินอยู่ในภูมิลำเนา และส่วนใหญ่มีรายได้จากภาคการเกษตร เฉลี่ย 64,129.47 บาทต่อปี เกือบครึ่งหนึ่งเป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน และเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ประมาณหนึ่งในสามรับทราบข่าวสารการขึ้นทะเบียนเกษตรกรจากผู้นำท้องถิ่น และส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมโครงการของรัฐบาล โดยเกือบครึ่งหนึ่ง เคยเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกร ปี 2552/53 และส่วนใหญ่ได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการตามนโยบายของรัฐบาล (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ภาพรวม พบว่า การขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของเกษตรกรในจังหวัดมุกดาหารมีความเหมาะสมในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่เกษตรกรเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด คือ ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (3) ปัญหา ข้อเสนอแนะ เกษตรกรเกินครึ่งหนึ่ง ระบุว่า ผู้ขอขึ้นทะเบียนไม่เข้าใจในหลักเกณฑ์และเงื่อนไข และเสนอแนะว่า ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอธิบายรายละเอียดของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้ชัดเจน (4) แนวทางการนำข้อมูลทะเบียนเกษตรกรไปใช้เพื่อการส่งเสริมการเกษตรได้ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) เป็นฐานข้อมูลประกอบการพิจารณาในการดำเนินงานตามนโยบายและมาตรการต่างๆ ของภาครัฐในการบริหารจัดการด้านการผลิต การตลาด การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ปัจจัยการผลิต ตลอดจนการจำแนกเกษตรกรตามกลุ่มเป้าหมาย 2) เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนโครงการ/กิจกรรม การส่งเสริมการเกษตรในมิติต่างๆ และ 3) เป็นฐานข้อมูลในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5838 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
159714.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.83 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License