กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5839
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems of abortion in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัชพล พาขุนทด, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การทำแท้ง--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการ ความเป็นมา และแนวคิดเกี่ยวกับการทำแท้ง 2) เพื่อศึกษากฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวกับการทำแท้ง 3) เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้ง 4) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการศึกษาทางเอกสารทางวิชาการ ต่าง ๆ เช่น ตำรา หนังสือ บทบัญญัติกฎหมาย วิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ บทความวิชาการ คำพิพากษาศาลฎีกา และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า บทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับข้อยกเว้นของการทำแท้งของประเทศไทยนั้น ยังไม่มีความชัดเจนและครอบคลุม อย่างเพียงพอ ผู้ศึกษาเห็นว่าจะต้องให้มีการกำหนดเหตุในการยุติการตั้งครรภ์ให้มีความชัดเจนโดยเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการยุติการ ตั้งครรภ์ไว้เป็นการเฉพาะการยุติการตั้งครรภ์ต้องกระทำในโรงพยาบาลหรือหน่วยงานของรัฐ ที่ให้บริการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนหรือสถานพยาบาลเวชกรรมที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานพยาบาล หรือคลินิกเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลด้วยเหตุอย่างใด ดังต่อไปนี้ คือ (1) เป็นการตั้งครรภ์ที่ก่อให้เกิดอันตราย ต่อชีวิตของหญิง (2) เป็นการตั้งครรภ์ที่ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของหญิง (3) เป็นการตั้งครรภ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพจิต ใจของหญิง (4) เป็นการตั้งครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276, มาตรา 277, มาตรา 282, มาตรา 283 หรือมาตรา 284 (5) ตรวจพบว่าหากทารกในครรภ์คลอดออกมาจะพิการทางร่างกายหรือมีความผิดปกติทางจิตหรือเป็นพาหะนำโรคร้าย (6) มีเหตุสำคัญทางเศรษฐกิจหรือสังคม (7) ตามการร้องขอของหญิงและต้องประกอบด้วยเงื่อนไขดังปรากฏตามบันทึกหลักการและเหตุผลพร้อมร่างพระราชบัญญัติวาด้วยการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ พ.ศ....ที่ได้เสนอมาพร้อมนี้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5839
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_153299.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons