Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5841
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย สุวรรณพานิชth_TH
dc.contributor.authorจินตนา ขจิตรัตน์, 2530-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-05-03T08:36:18Z-
dc.date.available2023-05-03T08:36:18Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5841en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีแนวคิดและวัตถุประสงค์ในบทบัญญัติความผิดตามกฎหมาย ศึกษามาตรการในการลงโทษความผิดฐานขับขี่รถในขณะเมาสุราตามกฎหมายไทย ศึกษามาตรการในการลงโทษ ความผิดฐานขับขี่รถในขณะเมาสุราตามกฎหมายต่างประเทศ และวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการลงโทษความผิดฐานขับขี่รถในขณะเมาสุราตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ รวมทั้งหาแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขมาตรการในการลงโทษความผิดฐานขับขี่รถในขณะเมาสุราของประเทศไทยให้เหมาะสมและบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร จากหนังสือ ตำรา เอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความวารสาร ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาลฎีกา คำพิพากษาของศาลต่างประเทศและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าคดีเมาแล้วขับมีปริมาณคดีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และถือเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งปัจจุบันแม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ในกรณีขับขี่รถขณะเมาสุรา โดยมีการกำหนดเพิ่มโทษจำคุกและโทษปรับให้สูงขึ้น และ เพิ่มโทษพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แต่ปริมาณคดีเมาแล้วขับหลังก็ไม่ได้ลดลงตามที่คาดหวังไว้ เนื่องจากโทษจำคุก ในทางปฏิบัติไม่มีการบังคับใช้จริง ผู้กระทำความผิดจึงไม่เกิดความเกรงกลัวในโทษที่จะได้รับ และยังก่อให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำอีก ซึ่งประเทศญี่ปุ่นก็เคยประสบปัญหาดังเช่นประเทศไทยมาก่อน จึงได้มีการแก้ไขเพิ่ม เติมกฎหมาย โดยมีการแก้ไขกฎหมายจราจรทางบก เพิ่มโทษจำคุกและโทษปรับให้สูงขึ้น และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด รวมถึงได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันปัญหาเมาแล้วขับโดยกำหนดบทบัญญัติในการลงโทษบุคคลภายนอกที่มีถือว่ามีส่วนในการสนับสนุนให้มีการกระทำความผิด ได้แก่ ผู้ที่ให้ยืมหรือให้ใช้ยานพาหนะแก่ผู้ที่ดื่มสุราหรือจำหน่ายสุราหรือสนับสนุนการดื่มสุรา หรือร้องขอ หรือไหว้วานให้ผู้ที่เมาสุราขับขี่ยานพาหนะไปส่งตนเอง รวมถึงผู้ที่ร่วมโดยสารไปในยานพาหนะที่ขับขี่โดยบุคคลที่ขับขี่รถขณะเมาสุรา ซึ่งมาตรการดังกล่าวทำให้คดีเมาแล้วขับ รวมถึงอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับของประเทศญี่ปุ่นลดปริมาณลงเป็นจำนวนมาก จึงเห็นว่าประเทศไทยควรมีการแกไขเพิ่มเติมกฎหมายและบทลงโทษกรณีเมาแล้วขับ รวมถึงควรกำหนดบทบัญญัติความรับผิดของบุคคล ที่มีส่วนหรือสนับสนุนให้มีการดื่มสุราด้วย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ ในการบัญญัติบทกฎหมายดังกล่าวth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectความรับผิดทางอาญาth_TH
dc.subjectความรับผิด (กฎหมาย)--ไทยth_TH
dc.subjectความผิดทางอาญา--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleความรับผิดทางอาญากรณีเมาแล้วขับth_TH
dc.title.alternativeCriminal liability in case of drunk drivingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study to (1) to study concepts and theories of offense prescribing, concepts and objectives of law offense and criminal penalty, (2) to examine the sanctions for DUI offender in Thai and international law, (3) to study the punishment for DUI offense in international law and (4) to comparatively analyze the punishment for DUI offense in Thai and international law. This study is a qualitative research which uses a documentary research method. The sources of information come from books, textbooks, academic documents, theses, articles, the supreme court of Thai’s verdicts and the international courts’ verdicts. The result of the study shows that the number of DUI cases has increased through the years and they are the major cause of traffic accidents. Nowadays, even though the section about DUI penalties in Land Transport Act, B.E. 2522 (1979) is amended to be more heavy, such as extending the period of incarceration, adding a new penalty, license suspension, and increasing fines, the number of DUI cases do not decrease as expected because the incarceration penalty is not used in practice. So, it makes the offenders not afraid of the punishment and start doing it again. Japan had been in the same position as Thailand. To solve the problem, penalties for DUI offender in Japan were adjusted to a longer term of incarceration and higher fines. In practice, they also fully enforced the law and set the DUI prevention measures. Any third agent taking part in the violation will be charged as same as an offender, for example, car owners lending their cars to the drunken, shop owners selling alcohol to them and people insisting others to drink or asking drunk drivers for a ride. Apart from that, the Japan land transport rule prohibits people from travelling with drunk drivers. These measures can decrease a number of DUI cases and traffic accidents caused by the drunken in Japan. Learning from their experience, Thailand should amend the law involving DUI by increasing the level of penalties and considering a punishment for any third party who participates in a drinking and driving situation. These means will lead to effective enforcement and achievement in the law’s objectives.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_154735.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.27 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons