กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5841
ชื่อเรื่อง: | ความรับผิดทางอาญากรณีเมาแล้วขับ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Criminal liability in case of drunk driving |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธวัชชัย สุวรรณพานิช จินตนา ขจิตรัตน์, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ความรับผิดทางอาญา ความรับผิด (กฎหมาย)--ไทย ความผิดทางอาญา--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีแนวคิดและวัตถุประสงค์ในบทบัญญัติความผิดตามกฎหมาย ศึกษามาตรการในการลงโทษความผิดฐานขับขี่รถในขณะเมาสุราตามกฎหมายไทย ศึกษามาตรการในการลงโทษ ความผิดฐานขับขี่รถในขณะเมาสุราตามกฎหมายต่างประเทศ และวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการลงโทษความผิดฐานขับขี่รถในขณะเมาสุราตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ รวมทั้งหาแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขมาตรการในการลงโทษความผิดฐานขับขี่รถในขณะเมาสุราของประเทศไทยให้เหมาะสมและบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร จากหนังสือ ตำรา เอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความวารสาร ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาลฎีกา คำพิพากษาของศาลต่างประเทศและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าคดีเมาแล้วขับมีปริมาณคดีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และถือเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งปัจจุบันแม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ในกรณีขับขี่รถขณะเมาสุรา โดยมีการกำหนดเพิ่มโทษจำคุกและโทษปรับให้สูงขึ้น และ เพิ่มโทษพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แต่ปริมาณคดีเมาแล้วขับหลังก็ไม่ได้ลดลงตามที่คาดหวังไว้ เนื่องจากโทษจำคุก ในทางปฏิบัติไม่มีการบังคับใช้จริง ผู้กระทำความผิดจึงไม่เกิดความเกรงกลัวในโทษที่จะได้รับ และยังก่อให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำอีก ซึ่งประเทศญี่ปุ่นก็เคยประสบปัญหาดังเช่นประเทศไทยมาก่อน จึงได้มีการแก้ไขเพิ่ม เติมกฎหมาย โดยมีการแก้ไขกฎหมายจราจรทางบก เพิ่มโทษจำคุกและโทษปรับให้สูงขึ้น และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด รวมถึงได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันปัญหาเมาแล้วขับโดยกำหนดบทบัญญัติในการลงโทษบุคคลภายนอกที่มีถือว่ามีส่วนในการสนับสนุนให้มีการกระทำความผิด ได้แก่ ผู้ที่ให้ยืมหรือให้ใช้ยานพาหนะแก่ผู้ที่ดื่มสุราหรือจำหน่ายสุราหรือสนับสนุนการดื่มสุรา หรือร้องขอ หรือไหว้วานให้ผู้ที่เมาสุราขับขี่ยานพาหนะไปส่งตนเอง รวมถึงผู้ที่ร่วมโดยสารไปในยานพาหนะที่ขับขี่โดยบุคคลที่ขับขี่รถขณะเมาสุรา ซึ่งมาตรการดังกล่าวทำให้คดีเมาแล้วขับ รวมถึงอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับของประเทศญี่ปุ่นลดปริมาณลงเป็นจำนวนมาก จึงเห็นว่าประเทศไทยควรมีการแกไขเพิ่มเติมกฎหมายและบทลงโทษกรณีเมาแล้วขับ รวมถึงควรกำหนดบทบัญญัติความรับผิดของบุคคล ที่มีส่วนหรือสนับสนุนให้มีการดื่มสุราด้วย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ ในการบัญญัติบทกฎหมายดังกล่าว |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5841 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_154735.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License