กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5849
ชื่อเรื่อง: มาตรการลงโทษทางอาญา : ศึกษาความเหมาะสมของโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Criminal sanctions: study the suitability of the death penalty in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจษฎา จันทร์โชโต, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหารชีวิตและเพชฌฆาต--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
กฎหมายอาญา
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ประวัติ วิวัฒนาการและวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการลงโทษประหารชีวิต การบังคับโทษประหารชีวิต ของประเทศไทยและของต่างประเทศ แนวทางในการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตของต่างประเทศรวมถึงปัญหาการลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทย การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยใช้วิธีการศึกษาจาก เอกสาร ประกอบด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องทางวิชาการ ตำรา บทความ รายงานการวิจัย รายงานวิชาการต่าง ๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกบทลงโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติเนื่องด้วยโทษประหารชีวิตเป็นวิธีการที่รุนแรง ป่าเถื่อน และไร้ ซึ่งมนุษยธรรม และใช้โทษประหารชีวิตเฉพาะคดีที่ร้ายแรงเท่านั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชนประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่ยังคงไว้ซึ่งบทลงโทษประหารชีวิตจึงอาจทำให้ถูกมองว่าเป็นประเทศที่ไม่เคารพถึงหลักการทางด้านสิทธิมนุษยชนโดยประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามปฏิญญาสากลวาด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ดังนั้น ควรมีการแก้ไขบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโทษประหารชีวิตในทุกฐานความผิดแต่ยังคงใช้บังคับกับคดีอุกฉกรรจ์คือการกระทำผิดที่แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาในการฆาตกรรมโดยผลของการกระทำทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนรัฐควรเตรียมความพร้อมในเรื่องงบประมาณและค่าใช้จ่ายในกรณีมีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตนำมาตรการทางอาญาอื่น ๆ มาบังคับใช้แทนการลงโทษประหาร ชีวิต เช่น การจำคุกระยะเวลายาวนาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5849
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_155005.pdfเอกสารฉบับจริง2.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons