Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5850
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณวิภา เมืองถ้ำth_TH
dc.contributor.authorชนันท์กานต์ ตันตรา, 2523-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-05-08T03:09:07Z-
dc.date.available2023-05-08T03:09:07Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5850en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษ ความเป็นมา แนวคิด รูปแบบและขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ตลอดจนข้อดี ข้อเสีย ของการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาปรับใช้ในการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนในชั้นศาล ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เพื่อหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมและวิธีการต่าง ๆ มาใช้กับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้คดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชน เป็นผู้กระทำความผิด สามารถระงับได้โดยวิธีการอื่น นอกเหนือจากการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ แต่เพียงอย่างเดียวการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสารซึ่งทำการรวบรวมเอกสาร ทั้งจากตำรา บทความ หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ตัวบทกฎหมาย รวมตลอดถึงข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เป็นเพียงการนำแนวคิดของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาปรับใช้ แต่ไม่ได้นำกระบวนการนี้มาใช้ให้เป็นรูปธรรม และไม่ได้นำ มาบัญญัติเป็นข้อกฎหมายเพื่อบังคับใช้ ทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการนี้ไม่นำมาใช้อย่างจริงจัง เป็นเพียงการใช้ดุลพินิจเท่านั้น เห็นควรนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้กับคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด จะเป็นการกลั่นกรองเด็กและเยาวชนที่มีความประพฤติที่เบี่ยงเบน เพื่อค้นหาถึงสาเหตุในการ กระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชนที่มีความประพฤติที่เบี่ยงเบน เพราะสาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนแตกต่างกับผู้ใหญ่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าเด็กและเยาวชนควรจะได้รับโอกาสแก้ไขความประพฤติและปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของครอบครัวและสังคมมากกว่าด้วยการใช้วิธีการลงโทษด้วยการจำคุก ดังนั้น ควรมีการปรับปรุงกฎหมายให้สามารถใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการกระทำความผิดทางอาญาของศาลเยาวชนและครอบครัว กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตลอดจนข้อตกลงในประชุมเยียวยาและฟื้นฟูความสัมพันธ์ตามกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และมีกลไกในการพัฒนาให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีต่อสังคมและส่วนรวมต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมทางอาญาth_TH
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้กับการกระทำความผิดทางอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัวth_TH
dc.title.alternativeApplication of the restorative justice in the criminal proceedings in the juvenile and family courten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this independent study is to study about the concepts, theories relating to the punishment, histories, patterns, and the process of the restorative justice including the advantages, the disadvantages in adopting the restorative justice in the juvenile and child offence in court proceedings along with the main judicial administration in order to seek for the guideline the development of the appropriate model and process in applying with the juvenile and child offence and the development of the criminal offence which the children or the youth commit for the settlement of the case by other means aside from only bringing the convicted into the punishment. This independent study is the qualitative research by means of the documentary research and goes through the research from collecting the documents, consisting of textbooks, the articles, books, theses, researches, the academic reports, the provisions of law including the relevant electronic media data. Result of the research: the proceedings in the special measure related to criminal prosecution according to the Juvenile and Family Court and Juvenile and Family Case Procedure Act, B.E. 2553 are merely the adoption of the concept of the restorative justice.However, such adoption is not concrete and is not legislate as a law for the enforcement rendering the application by the relating person in the proceedings is not enough serious, just the discretion. The author suggests applying the restorative justice in the criminal case which the offender is the children or youth for the most effective result by screening the children and youth with the deviant behavior for the purpose of the searching for the cause in the offense committing by the children and youth with the deviant behavior. Since the cause of the offense committing by the children and youth is different. Moreover, this resulted in giving the children and youth in the opportunity to improving the behavior and the correcting himself/ herself into the social and family surroundings more than to apply the punishment by imprisonment. Therefore, the author suggests revising the law in order to apply the restorative justice in the criminal proceedings the Juvenile and Family Court, specifying the rules and proceedings as well as the remedy and the restoration of the relation in accordance with the restorative justice and providing the mechanism for the substantial development in order to the benefit for the society and public.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_156060.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons