กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5850
ชื่อเรื่อง: | การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้กับการกระทำความผิดทางอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of the restorative justice in the criminal proceedings in the juvenile and family court |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ ชนันท์กานต์ ตันตรา, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี กระบวนการยุติธรรมทางอาญา กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษ ความเป็นมา แนวคิด รูปแบบและขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ตลอดจนข้อดี ข้อเสีย ของการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาปรับใช้ในการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนในชั้นศาล ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เพื่อหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมและวิธีการต่าง ๆ มาใช้กับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้คดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชน เป็นผู้กระทำความผิด สามารถระงับได้โดยวิธีการอื่น นอกเหนือจากการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ แต่เพียงอย่างเดียวการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสารซึ่งทำการรวบรวมเอกสาร ทั้งจากตำรา บทความ หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ตัวบทกฎหมาย รวมตลอดถึงข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เป็นเพียงการนำแนวคิดของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาปรับใช้ แต่ไม่ได้นำกระบวนการนี้มาใช้ให้เป็นรูปธรรม และไม่ได้นำ มาบัญญัติเป็นข้อกฎหมายเพื่อบังคับใช้ ทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการนี้ไม่นำมาใช้อย่างจริงจัง เป็นเพียงการใช้ดุลพินิจเท่านั้น เห็นควรนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้กับคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด จะเป็นการกลั่นกรองเด็กและเยาวชนที่มีความประพฤติที่เบี่ยงเบน เพื่อค้นหาถึงสาเหตุในการ กระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชนที่มีความประพฤติที่เบี่ยงเบน เพราะสาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนแตกต่างกับผู้ใหญ่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าเด็กและเยาวชนควรจะได้รับโอกาสแก้ไขความประพฤติและปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของครอบครัวและสังคมมากกว่าด้วยการใช้วิธีการลงโทษด้วยการจำคุก ดังนั้น ควรมีการปรับปรุงกฎหมายให้สามารถใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการกระทำความผิดทางอาญาของศาลเยาวชนและครอบครัว กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตลอดจนข้อตกลงในประชุมเยียวยาและฟื้นฟูความสัมพันธ์ตามกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และมีกลไกในการพัฒนาให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีต่อสังคมและส่วนรวมต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5850 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_156060.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License