Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5855
Title: การนำมาตรการทำงานบริการสังคมมาใช้กับโทษจำคุกระยะสั้นและโทษกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา
Other Titles: The implementation of social service measures applies to short-term imprisonment and imprisonment penalties instead of fines for penalties under the penal code
Authors: สุจินตนา ชุมวิสูตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจริญ ยอดทอง, 2515- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
นักโทษ--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีการลงโทษทางอาญา และการนำมาตรการทำงานบริการสังคมมาใช้กับโทษจำคุกระยะสั้นและโทษกักขังแทนค่าปรับ เพื่อความเหมาะสมในการศึกษาแนวทางการลงโทษและการกำหนดโทษทางอาญาในต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย แล้วนํามาพิเคราะห์ถึงอุปสรรคและปัญหา หรือข้อบกพร่องในกระบวนการทางอาญา เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา จากการลงโทษ และการกำหนดโทษแก่ผู้กระทำความผิดของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดย รวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ ตำรา บทความ งานวิจัย เพื่อการสังเคราะห์ในข้อมูลที่ทำการศึกษา แล้วนำมาสู่การแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายเกี่ยวกับการนำมาตรการทำงานบริการสังคมมาใช้กับโทษจำคุกระยะสั้นและโทษกักขังแทนค่าปรับ ผลการศึกษาพบว่า ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยมีประเภทของโทษที่จํากัด มีการนำมาตรการทำงานบริการสังคมมาใช้ในกรณีเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการคุมประพฤติ เพื่อหลีกเลี่ยงโทษจำคุกระยะสั้นเท่านั้น ศาลไม่อาจเลือกใช้บังคับในลักษณะของโทษได้ และในกรณีผู้ต้องโทษปรับไม่มีเงินชำระค่าปรับ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการนำตัวผู้ต้องโทษปรับไปกักขังแทนค่าปรับ จึงให้ผู้ต้องโทษปรับร้องขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นส่วนใหญ่ในขณะที่ต่างประเทศได้พัฒนาให้มาตรการดังกล่าวเป็นโทษทางอาญาประเภทหนึ่ง และสามารถใช้ควบคู่กับโทษเสริมประเภทอื่น ๆ ได้เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาให้การทำงานบริการสังคมมีลักษณะเป็นโทษทางอาญาประเภทหนึ่ง และสามารถปรับใช้กฎหมายของประเทศไทยได้อยางเหมาะสม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5855
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_156081.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons