กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5857
ชื่อเรื่อง: การกันบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหาไว้เป็นพยานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Immunity from prosecution in exchange for the implicated testimony of the accused on the counter corruption
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขนิษฐา ฝักฝ่าย, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
พยานบุคคล--การคุ้มครอง
พยานหลักฐาน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของต่างประเทศและในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการกันบุคคลไว้เป็นพยานและการรับฟังพยานบุคคลในคดีอาญา หลักกฎหมายที่ให้อำนาจคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการกันบุคคลไว้เป็นพยานและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554 รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องสภาพปัญหาและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติให้กันบุคคลไว้เป็นพยานในคดีอาญารวมถึงแนวทางในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล และเพื่อหามาตรการที่เหมาะสมในการกันบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหาไว้เป็นพยานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร จากพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554 หนังสือ เอกสารทางวิชาการ บทความทางวิชาการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายงานวิทยานิพนธ์ ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษา มติของคณะกรรมการป้องกนและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อนำมาศึกษาวิจัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และขอบเขตแห่งการศึกษาวิจัย ผลการศึกษาพบว่า มีปัญหาการกันบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหาไว้เป็นพยาน ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้ ปัญหาที่เกิดจากการรับฟังพยานตามกฎหมายที่ศาลยังมีดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี และอาจไม่ให้น้ำหนักคำพยานที่ถูกกันไว้มาพิจารณาพิพากษาเพื่อลงโทษจำเลยก็ได้ เนื่องจากยังไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บัญญัติให้ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพยานที่ถูกกันไว้ และที่ให้การไว้กับคณะกรรมการป้อง กันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ปัญหาการใช้ดุลพินิจในการเลือกบุคคลที่จะกันไว้เป็นพยานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่กฎหมายเปิดช่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจดุลพินิจโดยแท้ที่จะกันบุคคลใดเป็นพยานก็ได้ ซึ่งอาจจะขัดกับหลักนิติธรรมในการดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำผิด ปัญหาในเรื่องที่พยานอาจไม่ได้รับความคุ้มครองและถูกกลั่นแกล้งจากผู้บังคับบัญชา โดยการถูกสอบสวนทางวินัยจากการที่มาเป็นพยานให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และได้รับผลร้ายจากการถูกเพิกถอนสิทธิในการเข้ารับการคัดเลือกต่างๆ โดยที่ยังไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้ความคุ้มครองมิให้พยานไม่ต้องถูกลงโทษทางวินัยจากการกลั่นแกล้งของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมายกำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ให้ชัดเจน โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5857
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_156161.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons