Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5868
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเครียดในการทำงานในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย
Other Titles: Factors affecting work-related stress during COVID-19 crisis among personnel at sub-district health promoting hospitals in border area, Chiang Rai Province
Authors: ธีระวุธ ธรรมกุล
แอนนิชชา สิงห์คะนัน, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย--เชียงราย
บุคลากรทางการแพทย์--ความเครียดในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลและการสนับสนุนทางสังคม (2) ระดับภาวะเครียดในการทำงาน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคม และภาวะเครียดในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย จำนวน 120 คน จากประชากรทั้งหมด 245 คน (ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานสาธารณสุข) คำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรการประมาณค่าเฉลี่ย ในกรณีทราบประชากร และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วนประชากร เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคมและระดับภาวะความเครียด มีค่าความเที่ยง 0.95 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) บุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 35.8 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 12.1 ปี ระดับการสนับสนุนทางสังคมโดยรวม อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 51.7 (2) ภาวะเครียดในการทำงานมีระดับน้อย และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะเครียดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย คือ ตำแหน่งงานและการสนับสนุนทางสังคมด้านสติปัญญา ซึ่งตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมกันทำนายระดับภาวะเครียด ร้อยละ 32.2
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5868
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons