กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5876
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สำหรับคลินิกในจังหวัดระนอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for development of a rational drug use for clinics in Ranong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา จันทร์คง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณิชา ยนต์พิพัฒนกุล, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การใช้ยา
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สถานการณ์และปัญหาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับคลินิก และ (2) เสนอแนวทางการพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับคลินิก ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกอบกิจการคลินิก 53 คน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสถานพยาบาล 7 คน ศึกษาในประชากร ประกอบด้วย เภสัชกรใน รพ. ทุกแห่ง ๆ ละ 1 คน 5 คน เภสัชกร ในกลุ่มงาน 2 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบประเมินตนเองและการสนทนากลุ่ม ความตรงของเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.67-1.0 และอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.34-0.79 ความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.908 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ การแจกแจงความถี่ และร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) สถานการณ์และปัญหาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของคลินิกในจังหวัดระนอง ส่วนใหญ่เป็นคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สำหรับคลินิกเวชกรรมเฉพาะทาง พบว่า เป็นคลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสาขากุมาเวช และสาขาโสต ศอ นาสิกวิทยามากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของ รับทราบและเห็นด้วยเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับคลินิก การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในคลินิก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ (2) แนวทางการพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับคลินิก จังหวัดระนอง ประกอบด้วย 1) การสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการเภสัชกรรม โดยผู้ดำเนินการคลินิก เป็นกรรมการหลัก 2) การจัดทำฉลากยา ฉลากยาเสริม และข้อมูลยาสู่ประชาชน ให้จัดทำฉลากยาตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานฉลากยาสำหรับสถานพยาบาลเอกชน 3) การจัดหาเครื่องมือจำเป็นที่ช่วยให้เกิดการสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุผล ให้ทบทวนรายการยาที่ผู้ป่วยใช้ประจำ และแจ้งให้ผู้ป่วยเอายาเดิมมาทุกครั้งเมื่อมารักษา นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการตรวจรักษา และจัดทำคำแนะนำ สำหรับโรคที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ 4) การสร้างความตระหนักรู้ของบุคลากรทางการแพทย์และผู้รับบริการ ให้มีป้ายประชาสัมพันธ์ หรือป้ายเตือนภายในคลินิก ถึงการจ่ายยาปฏิชีวนะ 5) การดูแลด้านยาเพื่อความปลอดภัยของประชากรกลุ่มพิเศษ ให้งดเว้นการสั่งยาซ้ำซ้อนที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ง่าย และ 6) การส่งเสริมจริยธรรมและจรรยาบรรณทางการแพทย์ในการสั่งใช้ยา ให้งดเว้นการสั่งยาที่เป็นสูตรลับ และไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่แพทย์เป็นผู้สั่งยาแทน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5876
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons