กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/587
ชื่อเรื่อง: | การอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครองด้านงานก่อสร้าง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Arbitration in administrative construction contract |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสาวนีย์ อัศวโรจน์ ระพีพร รัตนเหลี่ยม, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิกรณ์ รักษ์ปวงชน |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ การอนุญาโตตุลาการ กฎหมายก่อสร้าง พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและการอนุญาโตตุลาการ เปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการของไทย ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 กับกฎหมายว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการของต่างประเทศ และวิเคราะห์ปัญหาการอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครองด้านงานก่อสร้างของประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการ ในสัญญาทางปกครองด้านงานก่อสร้าง วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิจัยเอกสารจากการรวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แนวคิด ทฤษฎี พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 และกฎหมายว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการของประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และคำพิพากษาของศาลปกครองที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาที่ทำให้ข้อพิพาทในสัญญาทางปกครองด้านงานก่อสร้าง ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชนไม่อาจยุติได้โดยการอนุญาโตตุลาการ และมีการนำข้อพิพาท ขึ้นสู่ศาลปกครอง ทำให้สิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่าย รวมถึงไม่สามารถบังคับให้คู่สัญญาภาคเอกชน ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาทางปกครองได้ เกิดจากการไม่มีกฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองด้านงานก่อสร้าง ทำให้ไม่มีหลักเกณฑ์การจัดทำสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีความละเอียดและรัดกุมอย่างเพียงพอ และจากการเปรียบเทียบกฎหมาย พบว่า บางประเทศมีการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำสัญญาอนุญาโตตุลาการเพิ่มเติมจากหลักการทั่วไป ให้ต้องกำหนดเรื่องที่สามารถใช้การอนุญาโตตุลาการได้ รวมถึงกรอบวงเงินสูงสุดซึ่งอนุญาโตตุลาการ สามารถสั่งให้คู่พิพาทจ่ายให้แก่กันได้เมื่อมีคำวินิจฉัยไว้ จึงเสนอให้มีการจัดทำกฎหมายว่าด้วย สัญญาทางปกครองด้านงานก่อสร้าง โดยให้มีหลักเกณฑ์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/587 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib159895.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License